วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หลักจดจำ

ทักษะในการสังเกตและจดจำพล।ต।ต.โกสินทร์ หินเธาว์ ผบก.น.5 1. ทำไมต้องฝึกสังเกตและจดจำ? เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ไม่ว่าเหตุดีหรือเหตุร้าย เหตุการณ์นั้น ๆ มักจะเกิดขึ้นโดยฉับพลันและไม่คาดคิดมาก่อนเสมอ โดยเฉพาะเหตุร้าย เช่น อุบัติเหตุรถชนคน หรือชนรถคันอื่น คนร้ายจี้ปล้นหรือวิ่งราวทรัพย์ประชาชนเดินถนน เป็นต้น และระยะเวลาที่เกิดเหตุก็จะใช้เวลาไม่นาน บางครั้งแค่ไม่ถึง 1 นาที ดังนั้น ผู้ที่บังเอิญประสบเหตุซึ่งหน้าพอดีอย่างกะทันหันส่วนใหญ่มักจะตกใจ หรือตื่นตระหนกก่อนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งกว่าจะตั้งสติและคิดได้ว่า ควรจะต้องจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้าย หรือยานพาหนะของคนร้ายไว้ก็มักจะเป็นเรื่องสายเกินไป เพราะคนร้ายจะหลบหนีไปไกลก่อนแล้ว ผู้เสียหายหรือพยานที่ประสบเหตุจะไม่ทันได้สังเกตคนร้ายและเหตุการณ์ได้อย่างถูกต้องหรือครบถ้วนสมบูรณ์ได้เลย ประชาชนทุกคนซึ่งอาจมีโอกาสประสบเหตุในชีวิตประจำวัน ทั้งในบริเวณบ้านและนอกบ้านได้ทุกเมื่อก่อนตำรวจจะทราบเหตุ จึงจำเป็นต้องฝึกฝน การสังเกตและจดจำไว้ให้มีประสิทธิภาพมากพอที่จะสังเกตและจดจำคนร้ายและเหตุการณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นประโยชน์แก่ตำรวจมากที่สุดในการสกัดจับ หรือติดตามสืบสวนจับกุมผู้ก่อเหตุหรือคนร้ายในคดี ต่าง ๆ ได้เป็นผลสำเร็จ เพื่อเป็นผลดีแก่ประชาชน หรือสังคมโดยรวมต่อไป2. มีเหตุร้ายประเภทใดบ้างที่ประชาชนควรต้องสังเกตและจดจำและแจ้งตำรวจ? มีเหตุร้ายอยู่ 3 ประเภทที่ควรสนใจ คือ 2.1 เหตุด่วนที่น่าจะร้าย เป็นเหตุเร่งด่วนที่จะเกิดหรือกำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งหากไม่ระงับเหตุนั้นเสียก่อน ก็จะมีผลเสียหายหรือภัยอันตรายต่อชีวิต หรือทรัพย์สินของประชาชน เช่น คนเมาถืออาวุธปืนส่ายไปมาอยู่ในชุมชน หัวขโมยกำลังปีนรั้วเข้าบ้านในเวลากลางคืน มีเสียงร้องของผู้หญิงดังออกมาจากห้องพักอย่างผิดปกติ เป็นต้น เมื่อมีเหตุเช่นนี้ ผู้ทราบเหตุต้องรีบแจ้งตำรวจให้มาจัดการ เพราะสามารถคาดการณ์ได้ว่าน่าจะเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นได้ในเวลาต่อมา 2.2 เหตุด่วน-เหตุร้าย เป็นเหตุร้ายที่เกิดขึ้นแล้วจำเป็นต้องรีบแจ้งให้ตำรวจระงับเหตุและจับกุมผู้กระทำผิดอย่างเร่งด่วน ซึ่งหากตำรวจไปที่เกิดเหตุช้า อาจจะก่อให้เกิดผลเสียหาย หรือภัยอันตรายต่อชีวิตหรือทรัพย์สินของประชาชนร้ายแรงยิ่งขึ้น เช่น นักเรียนกำลังยกพวกตีกันชุลมุนมีคนได้รับบาดเจ็บ หากตำรวจไปที่เกิดเหตุช้าอาจมีคนบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น หรือมีคนตาย เหตุคนร้ายหลายคนกำลังใช้อาวุธปืนปล้นร้านทอง หากตำรวจได้รับแจ้งเหตุช้า อาจไปสกัดจับคนร้ายที่กำลังหลบหนีได้ไม่ทัน เหตุคนร้ายหลายคนกำลังรุมเรียงคิวข่มขืนหญิงในป่าหญ้าข้างทาง หากตำรวจไปที่เกิดเหตุช้า หญิงดังกล่าวอาจถูกฆ่าปิดปากและจับกุมคนร้ายไม่ทัน เป็นต้น เหตุด่วน-เหตุร้ายเช่นนี้ ประชาชนผู้ประสบเหตุ ต้องรีบแจ้งเหตุให้ตำรวจทราบก่อนโดยเร็วที่สุด แล้วสังเกตและจดจำคนร้ายไว้ให้มากที่สุดเพื่อเป็นเบาะแสข้อมูลให้ตำรวจสกัดจับในเส้นทางหลบหนีและติดตามสืบสวนจับกุมคนร้ายต่อไป 2.3 เหตุร้ายที่ไม่ด่วน เป็นเหตุที่ไม่ควรเกิดขึ้นหรือเป็นเหตุที่อาจส่งผลร้ายแรงได้ในภายหลัง หากปล่อยให้เกิดขึ้นต่อไปโดยไม่มีการดำเนินการไว้เสียแต่เบื้องต้น เช่น กลุ่มชายวัยรุ่นมั่วสุมอยู่ในซอยเวลากลางคืน อาจมีการเสพยาเสพติด หรือฉุดคร่าอนาจารผู้หญิงที่เดินผ่านโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยขยะของเสียเป็นมลพิษต่อประชาชนที่อยู่อาศัยใกล้เคียง มีคนติดยาเสพติดเพ่นพ่านปะปนอยู่ในชุมชน ซึ่งอาจทำให้มีการแพร่ระบาดยาเสพติดไปยังคนอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น หรือมีการลักขโมยจี้ปล้นประชาชนบ่อยครั้งมากขึ้น เป็นต้น เหตุร้ายเช่นนี้ควรแจ้งข้อมูลให้ตำรวจทราบโดยเร็ว เพื่อให้มีการตรวจสอบเหตุและสืบสวนสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตามควรแก่กรณีต่อไป เพื่อมิให้ผู้มีแนวโน้มจะเป็นคนร้ายเหล่านี้ก่อเหตุร้ายแรงได้ในวันข้างหน้า3. เมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้น ผู้ประสบเหตุควรสังเกตและจดจำอย่างไร ? ผู้ประสบเหตุร้ายควรเลือกสังเกตและจดจำองค์ประกอบของเหตุการณ์ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้.- 3.1 ตัวคนร้ายและยานพาหนะ 3.2 ประเภทของเหตุร้าย 3.3 สถานที่เกิดเหตุ 3.1 ตัวคนร้ายและยานพาหนะ เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ผู้ประสบเหตุต้องให้ความสนใจในการสังเกตและจดจำเป็นลำดับแรกก่อนเพื่อให้ทราบว่าคนร้ายเป็นใคร หรือถ้าไม่รู้จักก็ต้องสังเกตและจดจำว่าคนร้ายมีตำหนิรูปพรรณอย่างไร ไม่ใช่สังเกตว่าเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายเป็นใคร เพราะเมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้นแล้ว ผู้ประสบเหตุส่วนใหญ่มักไม่มีโอกาสเข้าไปขัดขวาง หรือระงับเหตุเพื่อช่วยเหลือเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายด้วยตัวเองมากนัก เนื่องจากกลัวว่าจะมีอันตรายแก่ตัว ทั้งที่อยากจะช่วยอยู่ด้วยกันทุกคน ดังนั้น สิ่งที่จะทำได้ดีที่สุดในขณะนั้น เพื่อช่วยเหลือเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายก็คือ การจดจำคนร้ายไว้ให้มากและแม่นที่สุดเพื่อเป็นแนวทางให้ตำรวจจับตัวคนร้ายมาลงโทษให้ได้เป็นการทดแทน นอกจากการสนใจตัวคนร้ายแล้ว ในที่เกิดเหตุมักจะมียานพาหนะของคนร้ายปรากฏอยู่ด้วย ทั้งที่นำพาคนร้ายมายังที่เกิดเหตุและพาหลบหนีหลังเกิดเหตุ ซึ่งอาจเป็นรถจักรยานยนต์ รถยนต์รถแท็กซี่ หรือรถเมล์ประจำทาง เป็นต้น หากผู้ประสบเหตุสามารถสังเกตและจดจำได้ต่อจากตัวคนร้ายแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์แก่ตำรวจเป็นอย่างมากในการติดตามจับกุมคนร้ายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสกัดจับตามเส้นทางหลบหนีได้ทันทีที่รับแจ้งเหตุ 3.2 ประเภทของเหตุร้าย เป็นส่วนสำคัญรองลงมา ที่ผู้ประสบเหตุต้องสังเกตเพื่อทราบให้ได้ว่า คนร้ายกำลังลงมือกระทำผิดในเรื่องอะไร เพื่อที่ตำรวจจะได้ทราบพฤติการณ์ของคนร้ายได้อย่างถูกต้อง ในการระบุข้อหาความผิดเพื่อจับกุมดำเนินคดี และประเมินความร้ายแรงของการกระทำของคนร้ายให้ตำรวจที่สกัดจับและติดตามจับกุมได้รับทราบล่วงหน้า เพื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงอันตรายในการเข้าจับกุมคนร้ายได้อย่างเหมาะสมกับพฤติการณ์ของการกระทำผิด เช่น ชกต่อยทำร้ายกันโดยไม่มีอาวุธ ใช้ จยย.วิ่งราวกระเป๋าถือผู้หญิง ใช้อาวุธปืนยิงคนตายใช้อาวุธปืนสงครามปล้นธนาคาร ขว้างระเบิดเข้าไปในกลุ่มคนได้รับบาดเจ็บ และตายจำนวนหลายคน เป็นต้น 3.3 สถานที่เกิดเหตุ เป็นส่วนสำคัญสุดท้ายที่ผู้ประสบเหตุต้องสังเกตเพื่อทราบให้แน่ชัดว่าเหตุร้ายเกิดที่ใด เพื่อที่ตำรวจจะได้รีบเดินทางมาที่เกิดเหตุได้ถูกต้องรวดเร็ว การแจ้งสถานที่เกิดเหตุสับสนหรือผิดพลาดของผู้ประสบเหตุ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตำรวจเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุล่าช้า และมีผลต่อเนื่องที่ทำให้เหตุการณ์ร้ายแรงบานปลายออกไปมากขึ้น รวมทั้งคนร้ายมีโอกาสหลุดรอดการสกัดจับของตำรวจได้มากขึ้นด้วย โดยหลักการแล้วผู้แจ้งควรบอกชื่อย่านหรือบริเวณของที่เกิดเหตุในภาพรวมก่อน เช่น สนามหลวง ประตูน้ำ บางลำพู ตลาดคลองถม เป็นต้น แล้วแจ้งชื่อ ถนนตรงจุดเกิดเหตุให้ชัดเจน เช่น กม.ที่ 10 หรือปากซอยที่ 31 หรือหน้าอาคารหรือสำนักงานใหญ่ๆ เป็นต้น หากที่เกิดเหตุอยู่ลึกเข้าไปในตรอก ซอก ซอย ก็ควรแจ้งชื่อซอยและเข้าไปจากปากซอยเป็นระยะทางเท่าใด เลี้ยวซอยแยกด้านซ้ายหรือขวาเป็นระยะทางเท่าใด และมีสิ่งปลูกสร้างหรือต้นไม้หรืออาคารใดที่สังเกตได้ง่ายและอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ก็จะทำให้ตำรวจค้นหาที่เกิดเหตุได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยสรุปแล้ววิธีการอธิบายสถานที่เกิดเหตุที่มีประสิทธิภาพ ก็คือการ แจ้งบริเวณที่กว้างไปสู่บริเวณที่แคบกว่า หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ไปสู่บริเวณที่เล็กกว่าตามลำดับ4. มีวิธีการสังเกตและจดจำคนร้ายได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำได้อย่างไรบ้าง? ผู้ประสบเหตุมักมีเวลาน้อยมากในการสังเกตและจดจำคนร้าย เนื่องจากเหตุการณ์จะเกิดขึ้นและจบลงด้วยความรวดเร็ว อีกทั้งคนร้ายมักจะพยายามไม่เปิดเผยโฉมหน้าของตนให้คนอื่นเห็นได้โดยง่าย ผู้ประสบเหตุจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพยายามมองให้เห็นใบหน้าของร้ายให้ได้เป็นลำดับแรกก่อน เพราะใบหน้าเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะทำให้ทราบได้ว่าคนร้ายเป็นใคร หรือมีหน้าตาอย่างไร เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการออกหมายจับ และส่งตัวคนร้ายไปดำเนินคดีในชั้นศาลต่อไป เนื่องจากข้อจำกัดในระยะเวลาที่สั้นและการปกปิดใบหน้าของคนร้ายดังกล่าวแล้ว ผู้ประสบเหตุจึงต้องมีเทคนิควิธีในการสังเกตและจดจำใบหน้าคนร้าย ดังนี้คือ 4.1 พยายามจ้องมองให้ได้เค้าใบหน้าของคนร้ายโดยรวมไว้ก่อน แล้วจดจำไว้ในมโนภาพเหมือนกับการใช้กล้องกดชัตเตอร์ถ่ายภาพไว้บนฟิล์ม 4.2 พยายามระลึกถึงเหตุการณ์และภาพใบหน้าคนร้ายไว้อย่างต่อเนื่องกันเลือนหาย เนื่องจากสมองของเราไม่ใช่แผ่นฟิล์มในกล้องถ่ายภาพ ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่ระลึกภาพไว้บ่อยๆ ภาพเหตุการณ์และภาพใบหน้าของคนร้ายก็จะค่อยๆ เลือนหายไปโดยอัตโนมัติ และจะไม่มีวันหวนคืนมาได้อีก นอกจากจะได้มีโอกาสพบเห็นภาพเหตุการณ์และภาพใบหน้าคนร้ายซ้ำอีกครั้ง โดยอย่างน้อยผู้ประสบเหตุควรระลึกภาพใบหน้าคนร้ายไว้อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีโอกาสให้ข้อมูลแก่ตำรวจเรียบร้อยแล้ว 4.3 หากบังเอิญใบหน้าคนร้ายเหมือนหรือมีความคล้ายคลึงใกล้เคียงกับคนที่เคยเห็นหน้าหรือรู้จักมาก่อน ก็ควรพยายามเทียบเคียงกันไว้จะทำให้การจดจำใบหน้าคนร้ายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 4.4 หากมีโอกาสจ้องมองใบหน้าของคนร้ายได้นานมากขึ้น ควรสังเกตเน้นไปที่รายละเอียดขององค์ประกอบของใบหน้าให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนประกอบที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก คือสีผิว หน้าผาก คิ้ว ตา จมูก ปาก คาง รูปหน้า ใบหู แผลเป็นและรอยสัก นอกจากนี้ก็ควรสังเกตไว้ประกอบ เช่น สีผม ทรงผม หมวก แว่นตา ตุ้มหู สร้อยคอ เสื้อ เข็มขัด กางเกง ถุงเท้า รองเท้า ขนาดรูปร่าง ความสูง และอายุ5. ควรสังเกตและจดจำยานพาหนะของคนร้ายอย่างไร? คนร้ายมักมีพาหนะในการกระทำผิดทั้งก่อน ขณะ และหลังเกิดเหตุ ผู้ประสบเหตุจึงควรสังเกตตำหนิรูปพรรณของยานพาหนะคนร้ายเพิ่มเติมในลำดับต่อไปด้วย โดยเริ่มสังเกตส่วนที่เห็นได้ชัดเจนก่อน แล้วตามด้วยส่วนย่อยที่เล็กลงไป คือ 5.1 ประเภทรถ เป็นรถประเภทหรือชนิดใด เช่น รถบรรทุก รถบัส รถเก๋งส่วนบุคคล รถบรรทุกกระบะ รถจักรยานยนต์ เป็นต้น



5.2 สีของรถ ซึ่งอาจจะมีสีพื้นสีเดียว หรือมีสีพื้นและสีลวดลายหลายสีรวมกัน และอาจมีสภาพของสีแตกต่างกัน ตามระยะเวลาและสภาพของการใช้ด้วย จึงควรมีการเทียบเคียงกับสีรถจริงๆ ที่พบเห็นตามท้องถนนโดยทั่วไปด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด 5.3 ตำหนิรูปพรรณพิเศษของรถ เช่น มีสติกเกอร์ข้อความ หรือรูปภาพ หรือตัวเลขติดอยู่ตามตัวถังรถ มีรอยการเฉี่ยวชนจนสีถลอก หรือกระจกแตกร้าว หรือ ชำรุดเสียหายในบางจุดของพาหนะที่สังเกตได้ง่าย 5.4 ยี่ห้อและรุ่นของรถที่แตกต่างกัน รถบางยี่ห้อและรุ่นจะมีเอกลักษณ์ที่สังเกตได้ง่ายไม่เหมือนกัน ซึ่งหากผู้ประสบเหตุสามารถสังเกตและจดจำได้ ก็จะทำให้การสกัดจับและสืบสวนจับกุมของตำรวจเป็นไปได้ง่ายขึ้น 5.5 ทะเบียนรถ มีทั้งตัวอักษรและตัวเลขกำกับอยู่ที่ด้านหน้าและหลังรถทุกคัน หากสามารถสังเกตและจดจำได้ ก็จะทำให้การจับกุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากทะเบียนรถดังกล่าวเป็นของจริง แต่ส่วนใหญ่คนร้ายที่มีการวางแผนการกระทำผิดไว้ล่วงหน้าแล้ว มักจะไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน หรือหากจะติดก็จะติดแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมแทน ซึ่งไม่ใคร่เป็นประโยชน์ในทางสืบสวนจับกุมคนร้ายของตำรวจมากนัก 5.6 การสังเกตและจดจำตำหนิรูปพรรณยานพาหนะของคนร้ายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ประสบเหตุควรหมั่นศึกษาลักษณะเฉพาะของรถ แต่ละประเภท ยี่ห้อ และรุ่นต่างๆไว้ล่วงหน้าก่อน ซึ่งมีการใช้วิ่งอยู่บนถนนโดยทั่วไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้ว และจดจำไว้เผื่อเมื่อใดมีความจำเป็นต้องสังเกตและจดจำยานพาหนะคนร้าย ผู้ประสบเหตุจะได้กระทำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำมากกว่าผู้ที่ไม่เคยศึกษา 5.7 การจดบันทึกตำหนิรูปพรรณของคนร้ายและยานพาหนะไว้หลังเกิดเหตุใหม่ๆ จะช่วยยืนยันความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลเกี่ยวกับคนร้ายได้อย่างดีที่สุดเพราะการจดบันทึกในทันทีที่สังเกตและจดจำตำหนิรูปพรรณได้จะทำให้ ข้อมูลถูกต้องมากกว่าการจดจำไว้แต่เพียงประการเดียวเพราะอาจมีการจำผิดหรือสับสน หรือการหลงลืมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา6.การสังเกตและจดจำที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการฝึกฝนหรือปฏิบัติอย่างไร จึงจะได้ผลดี? การสังเกตเหตุการณ์และคนร้ายด้วยสายตาแต่เพียงอย่างเดียวนั้นอาจจะรับรู้เหตุการณ์ได้ไม่ครบถ้วน จึงต้องใช้ระบบประสาทอื่นๆ ประกอบช่วยด้วย คือ - ประสาทหู สำหรับฟังเสียงเพื่อให้ทราบว่าเสียงที่ได้ยินเป็นเสียงอะไร มาจากทิศทางใด และดังมาจากต้นเสียงในระยะห่างแค่ไหน เป็นต้น - ประสาทดมกลิ่น สำหรับรับรู้ว่าเป็นกลิ่นอะไร มาจากทางใด และมีระยะห่างเท่าใด - ประสาทสัมผัส สำหรับรับรู้ว่าที่จับต้องอยู่นั้นเป็นสิ่งใด มีขนาดและสภาพเป็นอย่างไร - ประสาทใจ สำหรับการคาดคะเน อายุ ช่วงเวลา ระยะเวลา ระยะทาง ความสูง และขนาดจากรูปร่างของคน สถานที่และวัตถุสิ่งของ - ประสาทสัมผัส โดยใช้ลิ้นสัมผัสเพื่อรับรู้รสว่าเป็นของสิ่งใด เช่น รสฝาดของเฮโรอีนรสขมของยาบ้า เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ประสบเหตุจะต้องฝึกร่างกายและจิตใจของตนเองไม่ให้ตื่นเต้นตกใจง่ายเมื่อประสบเหตุ เพื่อที่จะได้มีสติและสมาธิในการสังเกตคนร้าย และเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ โดยมีการจดบันทึกทันทีที่สังเกตและจดจำได้จากเหตุการณ์สดๆ ด้วยจิตใจที่เสียสละแรงกายแรงใจและเวลา รวมทั้งอาจต้องเสี่ยงอันตรายเพื่อคนอื่นและความสงบสุขปลอดภัยของสังคมโดยส่วนรวม



เทคนิคการสัมภาษณ์ ซักถาม หาข้อมูลในการป้องกันปราบปรามพล.ต.ท.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผบช.ภ.5เทคนิคการสัมภาษณ์1. การเตรียมข้อมูล 1.1 ผู้สัมภาษณ์ต้องศึกษาข้อมูลของเรื่องทั้งหมดที่จะซักถาม 1.2 จัดทีมผู้สัมภาษณ์จำนวนผู้สัมภาษณ์ 2-3 คน 1.3 ทบทวนข้อมูลประวัติของผู้ถูกสัมภาษณ์ 1.4 เรียบเรียงการสัมภาษณ์อย่างมีระบบ 1.5 เปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์กำหนดเวลานัดพบเองโดยสะดวก 1.6 กำหนดบทบาทและจังหวะการสัมภาษณ์ ซักถามของผู้สัมภาษณ์แต่ละคน2. การแนะนำตัวและการสร้างความสัมพันธ์ 2.1 แนะนำตัวเองต่อผู้ถูกสัมภาษณ์ 2.2 สร้างความเป็นกันเอง เช่น พูดคุยสอบถาม ทุกข์ สุข สั่งเครื่องดื่มมาให้ ให้บุหรี่สูบ พูดคุยเรื่องที่ ผู้ถูกสัมภาษณ์ให้ความสนใจ เช่น มีภูมิลำเนาจังหวัดเดียวกัน จบสถาบันการศึกษาเดียวกัน มีลูกชายเหมือนกัน 2.3 พูดชักจูงเข้าสู่เรื่องที่ต้องการ อธิบายถึงเหตุผลตามกฎหมายหรือกระบวนการที่ต้องทำการสัมภาษณ์ซักถาม3. การดำเนินการสัมภาษณ์ 3.1 ควรเปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เล่าเหตุการณ์ที่ทราบทั้งหมด ถ้อยคำและความรู้สึกของผู้ถูกสัมภาษณ์เอง โดยไม่มีการขัดจังหวะ 3.2 ควรฟังอย่างตั้งใจและอาจบันทึกประเด็นที่สงสัยไว้ย่อๆ โดยไม่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึกสะดุด 3.3 ตรวจสอบด้านต่าง ๆ ที่ผู้ถูกสัมภาษณ์เล่า โดยไม่ถามค้าน แต่ถามเพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เล่าต่อไป เช่น “แล้วอะไรอีกครับ” “อะไรที่ทำให้คุณฝังใจ” 3.4 การตั้งคำถามเปิด ต้องการคำอธิบาย 3.5 การตั้งคำถามปิด เช่น เพื่อให้ตอบใช่หรือไม่ใช่ 3.6 คำถามที่มีเหตุรองรับทางกฎหมายหรือคำสั่ง4. การยืนยันข้อมูลที่ได้ 4.1 สรุปสาระสำคัญ ที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ 4.2 ความชัดเจน ความสมบูรณ์ ของข้อมูลที่ได้รับ5. การรวบรวมทบทวนข้อมูลสุดท้าย 5.1 สอบถามว่าผู้ถูกสัมภาษณ์ยังมีข้อมูลอะไรที่จะบอกให้ทราบอีกหรือไม่ 5.2 ผู้สัมภาษณ์ควรจะทราบประเด็นใดอีกหรือไม่ 5.3 ให้ซักถามประเด็นที่สงสัย6. การนัดหมายรับข้อมูลเพิ่มเติม 6.1 สอบถามจะขอติดต่อผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อย่างไร ขอเบอร์โทรศัพท์ 6.2 ผู้สัมภาษณ์ให้นามบัตรที่ติดต่อไว้ 6.3 ประสานสัมพันธ์ด้วยการยินดีช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่หลักการสัมภาษณ์การสัมภาษณ์ (Interview) คือการรวบรวมข้อมูลโดยการสื่อสารสองทาง (Two-way communication) มีการสนทนาระหว่างผู้มีข้อมูลกับผู้ต้องการทราบข้อมูล เป็นการถามตอบกันโดยตรง หากมีข้อสงสัย หรือเข้าใจไม่ชัดเจนก็ทำความเข้าใจจนชัดเจนในทันที เป็นการสร้างความมั่นใจให้ทั้งผู้ตอบและผู้ถามประเภทของการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์มีประเภทและลักษณะแตกต่างกันตามจุดมุ่งหมาย ธรรมชาติและขอบเขตของการสัมภาษณ์ อาจแบ่งการสัมภาษณ์ที่สำคัญเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้ 1. การสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล (Individual Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยสัมภาษณ์ทีละคน ซักถามกันจนเป็นที่พอใจ แล้วจึงสัมภาษณ์คนอื่นต่อไป การสัมภาษณ์แบบนี้ ผู้สัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์จะมีความเป็นอิสระและเป็นส่วนตัวมาก 2. การสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม (Group Interview) เป็นการสัมภาษณ์พร้อมกันในเวลาเดียวกันครั้งละหลายๆคน อาจเป็นกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็กก็ได้ ทุกคนตอบคำถามเดียวกันหมด ฉะนั้นคำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์บางคน จึงอาจถูกชักนำจากคำตอบของผู้ให้สัมภาษณ์คนอื่นได้ 3. การสัมภาษณ์แบบใช้ผู้สัมภาษณ์คนเดียวกับผู้สัมภาษณ์หลายคน (Single and Panel Interview) การสัมภาษณ์จะให้ได้ผลดีควรใช้ผู้สัมภาษณ์คนเดียว สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง หรือผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน เพราะไม่เกิดความแตกต่างกันระหว่างผู้สัมภาษณ์ การใช้ผู้สัมภาษณ์เพียงคนเดียวมักจะเสียเวลานาน อาจมีเหตุการณ์บางอย่างทำให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้นในทางปฏิบัติจึงนิยมใช้การสัมภาษณ์แบบมีผู้สัมภาษณ์หลายคนช่วยกันสัมภาษณ์ จะทำให้รวบรวมข้อมูลได้เร็วขึ้น แต่จะต้องมีการคัดเลือกผู้สัมภาษณ์และฝึกอบรมเพื่อทำความเข้าใจและตกลงหลักเกณฑ์ร่วมกันก่อน ส่วนการสัมภาษณ์แบบผู้สัมภาษณ์หลายคนอีกลักษณะหนึ่งเป็นแบบ Panel นั้น เป็นการใช้ผู้สัมภาษณ์ที่เป็นผู้มีความรู้ทางด้านต่างๆกัน สัมภาษณ์ผู้ให้สัมภาษณ์หรือตัวอย่างคนเดียวพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 4. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) การสัมภาษณ์แบบที่มีโครงสร้างหรือแบบมาตรฐาน (Standardized interview) เป็นแบบที่มีการเตรียมการ มีแผนการสัมภาษณ์และการบริหารการสัมภาษณ์จัดเตรียมไว้ค่อนข้างแน่นอนเป็นการล่วงหน้า การสัมภาษณ์เป็นมาตรฐาน และเป็นทางการมาก ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนจะตอบคำถามเดียวกัน และถามคำถามก่อนหลังเรียงตามลำดับเหมือนกัน 5. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หรือแบบมาตรฐานน้อย (Less Standardized interview ) การสัมภาษณ์จะยืดหยุ่น เปิดกว้างไม่เป็นทางการมากนัก จะถามอะไรก่อนหลังก็ได้รวมทั้งไม่จำเป็นต้องถามคำถามเหมือนกันทุกคนก็ได้ ผู้สัมภาษณ์มีอิสระในการถามและสามารถปรับเปลี่ยนการซักถามให้เหมาะสมกับผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนได้ 6. การสัมภาษณ์แบบกำหนดคำตอบล่วงหน้า (Directive Interview) การสัมภาษณ์แบบกำหนดคำตอบไว้ให้สำหรับผู้ให้สัมภาษณ์เลือกตอบ เช่น ใช่ ,ไม่ใช่ , เคย , ไม่เคย หรือแบบที่มีคำตอบให้เลือก เป็นต้น 7. การสัมภาษณ์แบบไม่กำหนดคำตอบล่วงหน้า (Non-Directive Interview) แบบนี้ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบได้ตามความพอใจอย่างอิสระ จะตอบอย่างไรก็ได้ ผู้สัมภาษณ์จะปล่อยให้ผู้ให้สัมภาษณ์พูดและแสดงพฤติกรรมอย่างเสรี 8. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ 8.1 การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล (Individual depth interview) เป็นการซักถามพูดคุยกันระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์ เป็นการถามเจาะลึกล้วงคำตอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน การถามนอกจากจะให้อธิบายแล้ว จะต้องถามถึงเหตุผลด้วย การสัมภาษณ์แบบนี้ จะใช้ได้ดีกับการศึกษาวิจัยเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล เจตคติ ความต้องการ ความเชื่อ ค่านิยม บุคลิกภาพในลักษณะต่างๆ 8.2 การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เป็นการสัมภาษณ์และสนทนาแบบเจาะประเด็นด้วยการเชิญผู้ร่วมสนทนามารวมเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 5-7 คน แล้วเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนทัศนะกันอย่างกว้างขวางในประเด็นต่างๆที่เราต้องการแล้วพยายามหาข้อสรุป การสนทนากลุ่มนี้เหมาะกับการวิจัยที่ต้องการหารูปแบบโครงสร้าง แนวคิดใหม่ๆรวมทั้งค้นหาตัวกำหนดพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์เทคนิคการซักถามคุณลักษณะของผู้ซักถามที่ดี 1. รู้หลักจิตวิทยา คือ สามารถอ่านจิตใจของผู้ถูกซักถามและสามารถกระทำตัวเป็นนักแสดงหรือนักธุรกิจได้ เพราะผู้ถูกซักถามย่อมมีจิตใจแตกต่างกัน บางคนชอบปลอบ บางคนชอบขู่ และบางคนชอบสุภาพอ่อนโยน 2. มีความรู้ทั่วไปกว้างขวาง เพราะจะต้องซักถามคดีไม่จำกัดประเภท และจะต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ในเรื่องทั่ว ๆ ไป เพิ่มเติมอยู่เสมอ 3. มีปฏิภาณ ไหวพริบดี เพราะการซักถามปากคำมีปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้นมากมาย ต้องวิจัย ค้นคว้าหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหาอยู่เสมอ ต้องรู้สึกสนใจและกระตือรือร้น แต่ไม่แสดงกิริยาอาการข่มคนอื่น 4. มีบุคลิกภาพดี ผู้ซักถาม แต่ละคนควรมีบุคลิกภาพเป็นที่น่าเลื่อมใส และยำเกรงแก่ ผู้ที่จะถูกซักถาม มีลักษณะเป็นผู้เฉียบขาด แต่อ่อนโยนและสามารถแสดงความเห็นอกเห็นใจ ในตัวผู้ถูกซักถามได้เป็นอย่างดี 5. มีความพากเพียรพยายาม ผู้ซักถามจะต้องมีความมานะบากบั่นในการที่จะซักถาม ให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องอยู่เสมอ เพราะผู้ถูกซักถามอาจให้การสับสนวกวน บางครั้งนึกเหตุการณ์ไม่ออกและบางครั้งอาจให้ถ้อยคำคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงโดยไม่ตั้งใจ 6. รู้จักทำความเชื่อมโยง คือ รู้จักแสดงความสนิทสนมเป็นกันเองกับผู้ถูกซักถาม หากผู้ซักถาม ไม่แสดงความเป็นกันเอง ผู้ถูกซักถามก็ย่อมจะไม่เต็มใจให้ข้อเท็จจริงอันถูกต้องแก่ผู้ซักถาม 7. มีวาจาสัตย์ ผู้ซักถามจะต้องไม่ให้สัญญากับผู้ถูกซักถามในสิ่งที่ตนปฏิบัติไม่ได้ จะรับปากได้ก็เฉพาะสิ่งที่ตนทำให้ได้เท่านั้น หากยอมให้สัญญาในสิ่งที่ทำไม่ได้ผู้ถูกซักถามอาจเกิดความสงสัย และขาดความไว้วางใจในตัวผู้ซักถาม 8. ความสามารถในการสังเกตและอ่านกิริยาท่าทางผู้ถูกซักถาม คือ รู้จักสังเกตปฏิกิริยาของผู้ถูกซักถามต่อข้อซักถาม และสามารถเข้าใจความหมายของอากัปกิริยานั้นๆเทคนิคการซักถามปากคำ ผู้ร้องทุกข์ ผู้กล่าวโทษและพยาน ในการซักถามปากคำพยานบุคคลในคดีอาญามักปรากฏอยู่เนือง ๆ ว่ามีบุคคลไม่ใช่น้อยให้การบิดเบือน อำพรางข้อเท็จจริงของคดี ซึ่งมักได้แก่ผู้ที่กลัวถูกผู้ต้องหากลับมาแก้แค้นภายหลัง ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นเครือญาติกับผู้ต้องหา ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นพรรคพวกของผู้ต้องหา ผู้ที่ไม่นำพาต่อสังคม และผู้เห็นตำรวจเป็นศัตรู ฯลฯ บุคคลเหล่านี้ ผู้ซักถามจะต้องใช้อุบายไหวพริบหาช่องทางชี้แจง ให้เห็นผิดเป็นชอบ โดยเริ่มตั้งแต่การปลอบโยน การรับรองความปลอดภัย ตลอดจนการชี้ให้เห็นว่าการให้ถ้อยคำที่เป็นเท็จ เป็นความผิดต่อกฎหมายอย่างใด อนึ่งในคดีที่มีพยานหรือผู้ต้องสงสัยหลายคน ในโอกาสแรกที่ไปถึงที่เกิดเหตุควรหาทางป้องกันมิให้หนีหรือปรึกษาหารือกันได้ ผู้ซักถามปากคำ ต้องถือหลักการดำเนินการซักถามปากคำ ผู้ร้องทุกข์ ผู้กล่าวโทษหรือพยานต่อไปนี้ 1. ควรซักถามปากคำเมื่อใด ผู้ซักถามควรรีบดำเนินการซักถามปากคำผู้ร้องทุกข์ฯโดยเร็วที่สุด เท่าที่จะเร็วได้ภายหลังเกิดเหตุ เพราะสามารถจำเหตุการณ์ได้ดีอยู่ ความรู้สึกนึกคิดที่จะบิดเบือนข้อเท็จจริงและซักซ้อมพยานในคดีทำได้ยาก 2. การเตรียมการล่วงหน้า ก่อนลงมือซักถามปากคำพยาน ควรเตรียมข้อเท็จจริงที่หาไว้ได้แล้วให้พร้อม และเตรียมประเด็นข้อซักถามให้เรียบร้อย โดยพิจารณาว่าพยานปากนี้รู้เห็นเหตุการณ์ตอนใด ควรจะได้ข้อเท็จจริงจากพยานตอนใดบ้าง มิฉะนั้นอาจพลั้งเผลอผ่านประเด็นสำคัญๆบางตอนไปก็ได้ 3. แสดงความเป็นกันเอง ระยะก่อนลงมือซักถามควรถือโอกาสสนทนาสอบถามสารทุกข์สุกดิบทำนองแสดงความเป็นกันเองเสียก่อน หากเริ่มซักถามปากคำเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในคดีทันที อาจจะเกิดอารมณ์ตึงเครียด ไม่เต็มใจเปิดเผยข้อเท็จจริงก็ได้ และก่อนลงมือซักถาม ก็ควรให้ผู้ที่ถูกซักถาม เล่าเรื่องพฤติการณ์ที่ได้ประสบมาโดยตลอดเสียก่อน 4. คุมผู้ถูกซักถามให้การตามประเด็น ผู้ถูกซักถามส่วนมากมักจะให้การเลยเถิดนอกเรื่องนอกราว ผู้ซักถามจะต้องคอยตลบให้เข้าประเด็นอยู่เสมอ 5. ผู้ถูกซักถามให้การขัดกัน โดยปกติคำให้การของบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน เวลาเดียวกันที่ตรงตามข้อเท็จจริงจะต้องสอดคล้องกัน ถ้าหากปรากฏว่าขัดกันแล้ว ผู้ซักถามจะต้องซักถาม ให้เห็นในข้อเท็จจริงอันสำคัญของคดีเสมอไป 6. อย่าถามนำ การซักถามนำเป็นเชิงให้คำตอบเสียเอง จะทำให้ข้อเท็จจริงเสียไปและอาจทำให้ตั้งรูปคดีผิด 7. ควรตั้งปัญหาซักถามทีละข้อ อย่าถามโดยตั้งคำถามซ้อนขึ้นมาหลาย ๆ ข้อพร้อม ๆ กัน 8. ควรตั้งปัญหาซักถามที่เข้าใจง่าย อย่าใช้คำถามคำตอบเข้าใจยาก 9. บุคคลประเภทตอบไม่รู้ไม่เห็น พวกนี้มักจะได้แก่ บุคคลที่ไร้การศึกษาเพราะบุคคลพวกนี้ มักครุ่นคิดว่าการที่เอาตัวเข้ามาผูกพันกับคดีนับเป็นเรื่องหาทุกข์ใส่ตัวมากกว่า จึงไม่ค่อยเต็มใจให้ปากคำต่อผู้ซักถาม ผู้ซักถามจะต้องเริ่มการแสดงความเป็นกันเองให้มาก และต้องป้อนคำถามในทำนองคะยั้นคะยอเป็นพิเศษ และต้องใช้คำถามสกัด อย่าให้มีทางตอบว่าไม่เห็นไม่ทราบทั้งๆที่รู้เห็นอยู่ 10. บุคคลประเภทเฉยเมยต่อข้อซักถาม พวกนี้มักตอบเลี่ยงๆ ไม่ตรงประเด็นที่ต้องการ ควรหาวิธีเข้าถึงอารมณ์ให้ตอบข้อซักถามให้ละเอียด โดยการเยินยอให้เกิดความภาคภูมิใจในการที่เขาได้ให้ข้อเท็จจริง ควรกระตุ้นให้การโดยวิธีให้เห็นความสำคัญของข้อเท็จจริงที่ได้รู้เห็นมา 11. บุคคลประเภทขี้เหล้าเมายา ควรให้คำเยินยอมากๆ บางครั้งอาจได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ชัดเจนมากกว่าเวลาไม่เมาก็ได้ 12. บุคคลประเภทช่างพูด ผู้ซักถามจะต้องใช้วิธีดักคอรวบรัดให้เข้าประเด็นอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้พูดเพ้อเจ้อนอกรีตนอกรอยไป 13. บุคคลประเภทตรงไปตรงมา บุคคลที่ให้ความร่วมมือตอบข้อซักถามตรงไปตรงมาเป็นประโยชน์แก่คดีมาก หากเป็นพยานปากสำคัญในคดีจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าเป็นบุคคลที่มีเชาวน์ดี จะซักถามให้ได้ข้อเท็จจริงไม่ยาก แต่ก็ควรชี้แจงให้ผู้ซักถามเข้าใจเสียก่อนว่าเป็นหน้าที่ของผู้ซักถามที่จะต้องค้นคว้าหาข้อเท็จจริงของคดี ที่ต้องซักไซ้ไล่เลียงหาเหตุผลประกอบบางประการก็เพื่อความแจ่มชัดของรูปคดี หาได้มีเจตนาจะไม่เชื่อถือแต่อย่างใด 14. บุคคลประเภทกล่าวเท็จ หากผู้ถูกซักถามให้ถ้อยคำโดยเห็นได้ชัดว่าเป็นความเท็จ ควรปล่อยให้การจนจบเรื่อง ผู้ที่กล่าวเท็จมักจะแสดงท่าทางสะทกสะเทิ้นประหม่า หรือแสดงความรู้สึกออกมา ในขณะที่พูดไม่จริง เช่น จับเก้าอี้แน่น หูแดง เหงื่อแตก กลืนน้ำลายบ่อย และริมฝีปากแห้ง ฯลฯ 15. พยานประเภทตื่นเต้นและขี้ขลาดกลัว พยานประเภทนี้ ผู้ซักถามจะต้องพยายามผูกมิตรและแสดงความเป็นกันเองให้มาก ควรปลอบใจด้วยว่า ผู้ซักถามจะปกปิดคำให้การไว้เป็นความลับ ไม่เปิดเผยแพร่งพรายเทคนิคการซักถามปากคำผู้ต้องหา 1. การเตรียมข้อเท็จจริง ผู้ซักถามควรได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงตามรูปคดีเสียก่อนตลอดจนควรทราบประวัติความเป็นมาของผู้ต้องหาอีกด้วย หากผู้ต้องหาเกิดความรู้สึกว่าผู้ซักถามรู้รายละเอียดเกี่ยวกับคดี ก็จะไม่กล้ากล่าวเท็จได้ง่ายนัก 2. จำนวนผู้ซักถามปากคำ โดยปกติควรมีผู้ซักถามผู้ต้องหาเพียงคนเดียว และควรอยู่กับผู้ต้องหาตามลำพังภายในห้องสอบสวน ผู้ต้องหาอาจเปิดเผยความจริงได้มาก ทำนองเดียวกันกับเพื่อนฝูงที่บอกความลี้ลับแก่กันก็หาได้พูดบอกต่อหน้าผู้อื่นไม่ ถ้าจำเป็นจะต้องมีผู้ซักถามมากกว่า 1 คน ก็ควรมีอย่างมากไม่เกิน 2 คน ระวังการขัดจังหวะระหว่างกันเองให้มากและไม่ควรคุยกันถึงรูปคดีต่อหน้าผู้ต้องหา เพราะผู้ต้องหาอาจนำเอาไปใช้เป็นหลักในการต่อสู้คดีได้ 3. การจัดเก้าอี้นั่ง เก้าอี้นั่งสำหรับผู้ต้องหาไม่ควรมีพนักเท้าแขน และควรมีพนักพิงที่ตั้งตรง เพื่อป้องกันผู้ต้องหามีโอกาสพักอารมณ์ ผู้ซักถามควรนั่งตรงข้ามกับผู้ต้องหาห่างกัน ระยะ 2-3 ฟุต ไม่มีสื่อกำบังระหว่างกลาง เพื่อจะได้แลเห็นความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประสาทของผู้ต้องหาได้ชัดเจน เมื่อการซักถามปากคำดำเนินไปเข้ารูปเข้ารอยแล้ว ควรเลื่อนเก้าอี้ให้ชิดตัวผู้ต้องหาเข้าไปอีก ผู้ซักถามไม่ควรลุกจากโต๊ะหรือเดินไปเดินมา เพราะเป็นการแสดงว่าผู้ซักถามไม่มีความอดทน จะเป็นเหตุให้ผู้ต้องหาคิดว่า หากทนกล่าวโกหกต่อไปอีกไม่ช้า ผู้ซักถามก็จะเลิกซักถามไปเอง 4. ควรจดบันทึกปากคำเมื่อใด เมื่อเริ่มดำเนินการซักถาม ผู้ซักถามไม่ควรจดบันทึกปากคำนั้นทันที แม้ปากกาและกระดาษบันทึกก็ไม่ควรให้ผู้ต้องหาเห็น ควรซักถามให้ได้ความแน่ชัดโดยตลอดเสียก่อน เพราะการบันทึกปากคำทำให้ผู้ต้องหาครุ่นคิดอยู่เสมอว่า จะเป็นหลักฐานมัดตัวเอง อารมณ์ครุ่นคิดดังกล่าว อาจทำให้ผู้ต้องหากลับใจไม่แฉความจริงได้ การบันทึกปากคำควรดำเนินการภายหลังที่ซักถามปากคำผู้ต้องหาจนหมดสิ้นกระแสความแล้ว 5. ท่าทีของผู้ซักถาม ผู้ซักถามควรแสดงท่าทีให้ปรากฏแก่ผู้ต้องหาว่าตนนั้นต้องการซักไซ้ ไล่เลียงค้นหาความจริงนั้น มิได้มุ่งหวังต่อคำรับสารภาพของผู้ต้องหาเป็นใหญ่ 6. การแต่งกายของผู้ซักถาม ในต่างประเทศผู้ซักถามปากคำผู้ต้องหาไม่นิยมสวมเครื่องแบบ เพราะจะเป็นเครื่องเตือนให้ผู้ต้องหารำลึกอยู่เสมอว่าเขาตกอยู่ในฐานะถูกควบคุมตัว หากจำเป็นต้องแต่งเครื่องแบบควรถอดซองปืนพกและอาวุธออกเสียก่อน การแต่งกายต้องให้เป็นที่สง่าน่าเกรงขาม 7. การหลีกเลี่ยงคำพูดบางอย่าง ผู้ซักถามควรเลี่ยงไม่ใช้คำพูดที่ก่อความหวาดหวั่นกับผู้ต้องหา เช่น คำว่า “ฆ่าคนตาย” ควรพูดว่า (ยิง หรือ แทง ) ถ้าว่า “ขโมย” ควรพูดว่า “เอาไป” คำรับสารภาพควรพูดว่า “บอกความจริง” คำว่า “กำลังพูดเท็จ” ควรพูดว่า “ยังไม่ให้ความจริงโดยตลอด” 8. ควรละเว้นการสูบบุหรี่ ระหว่างซักถามผู้ต้องหา ผู้ซักถามควรเว้นการสูบบุหรี่ เพราะจะเป็นทางเลือกให้ผู้ต้องหาถือโอกาสขอสูบบุหรี่บ้าง การสูบบุหรี่จะเป็นทางให้ผู้ต้องหาได้รู้สึกผ่อนคลายอารมณ์ตึงเครียดได้ ถ้าจำเป็นต้องสูบจริง ๆ ก็ควรสูบให้น้อยที่สุด แต่ควรยื่นบุหรี่ให้ผู้ต้องหาสูบด้วย เพื่อเป็นการแสดงความผูกมิตร และแสดงความเป็นกันเอง 9. ใช้คำถามที่เหมาะสม ผู้ถามปากคำควรเลือกใช้คำถามด้วยภาษาที่เหมาะสมกับฐานะของผู้ต้องหา เช่น คนไร้การศึกษา ก็ควรถามด้วยคำถามง่ายๆ หรือภาษาที่พูดกันรู้ในหมู่พวกเรา 10. การแสดงความเห็นอกเห็นใจ เป็นวิธีหนึ่งที่จะได้เรื่องราวจากผู้ต้องหา ทำให้ผู้ต้องหารู้สึกถึงเจตนาดีของผู้ซักถามโดยเฉพาะผู้ต้องหาที่กระทำผิดเป็นครั้งแรก กระทำผิดเนื่องจากบันดาลโทสะ และกระทำผิดเนื่องจากความเจ็บแค้นเป็นประเภทที่ต้องแสดงความเห็นอกเห็นใจเป็นพิเศษ 11. การบอกผู้ต้องหาถึงเรื่องความหนักเบาของโทษ ถ้าเป็นคดีเล็กน้อยไม่ร้ายแรง ก็อาจพูดปลอบใจให้ผู้ต้องหาได้ว่าโทษทัณฑ์เพียงเล็กน้อย ไม่ควรวิตก เมื่อผู้ต้องหาเห็นว่าความผิดที่ตนกระทำ ไม่หนักหนาอะไร ก็จะมีใจเล่าเหตุการณ์ได้มากขึ้น แต่ถ้าเป็นคดีที่มีโทษหนักก็ควรเลี่ยงไม่พูดเรื่องโทษกับผู้ต้องหา 12. การยกย่องและเยินยอผู้ต้องหา ผู้ต้องหาควรได้รับการปฏิบัติและการพูดจาที่สุภาพอ่อนโยน โดยไม่คำนึงถึงว่าจะเป็นความผิดเช่นไร และผู้ต้องหาอยู่ในฐานะใด เช่นคำว่า ผม คุณ ครับ ควรนำมาใช้ควรหาทางใช้คำเยินยอให้ผู้ต้องหารู้สึกภูมิใจในตัวเอง หรือในครอบครัวของเขาเยินยอในความเฉลียวฉลาดของเขา ความมีรูปร่างหน้าตาดี ท่าทางดีและความรู้ความสามารถต่าง ๆ ของเขา ฯลฯ โดยระมัดระวังใช้คำเยินยอที่เป็นจริง จะทำให้สามารถขุดค้นหาความจริงต่าง ๆ จากผู้ต้องหาได้มาก 13. เมื่อผู้ต้องหากล่าวเท็จ ผู้ซักถามไม่ควรแสดงอาการโกรธดุด่าว่า หรือใช้คำพูดประท้วงผู้ต้องหา เช่น “จะมาโกหกกันทำไม” ควรซ่อน ปฏิกิริยาทั้งหลายไว้ และกลับใช้วิธีพูดว่า ผู้ซักถามรู้แล้วว่าผู้ต้องหาตอบไม่ตรง ตามความจริง 14. การใช้เครื่องจับเท็จ ในการสอบปากคำผู้ต้องหา หากผู้ต้องหาให้การปฏิเสธอาจมีวิธีการใช้เครื่องจับเท็จ ความจริงระบบการจับเท็จนี้ศาลมิได้ถือเป็นหลักฐานที่จะชี้ผิดแก่ผู้ต้องหาได้ แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีผลเป็นเครื่องประกอบการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวนกล่าวคือส่วนมากผู้ที่ไม่ผิดจริงมักจะแสดงความประสงค์ให้มีการจับเท็จด้วยเครื่องจับเท็จ ส่วนผู้ที่กระทำผิดจริงมักจะหลีกเลี่ยงเบี่ยงบ่าย ในบางครั้งก่อนนำตัวเข้าเครื่องจับเท็จก็รับสารภาพเสียก่อนก็มี หรือจากผลของการจับเท็จด้วยเครื่องจับเท็จอาจใช้เป็นจุดซักถามผู้ต้องหาให้บอกความจริงในภายหลังได้ 15. ไม่ควรใช้เครื่องพันธนาการและพกอาวุธ ผู้ซักถามควรแสดงความกล้าไม่หวั่นเกรงต่อผู้ต้องหา โดยไม่ใส่กุญแจมือหรือล่ามโซ่ระหว่างซักถาม ซึ่งทำให้ผู้ต้องหาเกิดนิยมชมชอบในตัวผู้ซักถาม และอาจจะระบายความจริงได้มากขึ้น อาวุธปืนก็ไม่ควรพกเป็นการข่มขวัญผู้ต้องหา ควรทำเป็นเผชิญหน้า กับผู้ต้องหา อย่างลูกผู้ชาย หากผู้ซักถามปากคำ พกอาวุธ ผู้ต้องหาอาจถือโอกาสแย่งอาวุธเอาได้ 16. การซักถามผู้ต้องหาที่จับได้ขณะเกิดเหตุ โดยปกติผู้ต้องหาที่ถูกจับได้ในทันทีที่ได้กระทำผิดมักจะมีอาการตื่นเต้นตกใจ เผลอ หรือขาดสติ ควรได้รีบซักถามในทันที ก่อนที่จะได้มีโอกาสสงบสติอารมณ์ เพราะจะได้คำรับสารภาพที่ง่ายเข้า 17. ข้อเท็จจริงที่ผู้ซักถามปากคำยังไม่รู้ ข้อเท็จจริงใด ๆ ของคดีที่ผู้ซักถามยังไม่แน่ใจ อย่านำมาพูดกับผู้ต้องหาว่ารู้ความจริงมาอย่างนั้นอย่างนี้ อาจผิดพลาดได้ ทำให้ผู้ต้องหาแน่ใจว่าผู้ซักถามปากคำไม่รู้จริง และยังไม่ได้ข้อเท็จจริงที่จะมัดตัวผู้ต้องหาได้หลักการซักถาม ปัจจุบัน สิทธิส่วนบุคคลถือเป็นเรื่องสำคัญ การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเชิญตัวประชาชนไปให้ปากคำหรือ สอบถาม จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง การหน่วงเหนี่ยว ข่มขู่ การพูดโดยไม่ระมัดระวังจะเกิดผลเสียหายต่อตัวตำรวจเองอาจนำไปสู่การโต้เถียงหรือความไม่พอใจของประชาชนได้ ต้องอย่าลืมว่าการกระทำของตำรวจเพียงนายเดียวอาจจะมีผลกระทบต่อหน่วยงานส่วนรวมของตำรวจได้ การซักถามของตำรวจมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแบ่งแยกประชาชนผู้สุจริต กับคนร้ายเมื่อเกิดความสงสัย เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องมีความรู้ มีทักษะในการสอบถามเพื่อจับพิรุธ ผู้กระทำความผิด เพราะปกติผู้กระทำผิดย่อมหาหนทางปกปิดความผิดของตน วิธีการซักถามของตำรวจ จึงเป็นวิธีการเฉพาะสำหรับวิชาชีพตำรวจ เนื่องจากการสืบสวนสอบสวน เป็นการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความร่วมมือสนับสนุน จากองค์ประกอบต่าง ๆ หลายส่วนเข้าด้วยกัน เช่น การคัดเลือกตัวบุคคลผู้ทำการสืบสวน การจัดทำประวัติข้อมูลผู้กระทำความผิด ฯลฯ ดังเช่นที่ได้กล่าวแล้ว ส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งก็คือ การสนทนาไต่ถามและสอบสวนปากคำ หรือในทางปฏิบัติมักจะเรียกกันว่า “การซักถาม” นั่นเอง การซักถาม หมายถึง กระบวนการในการสอบถามของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนหรือพนักงานสอบสวน เพื่อที่จะรู้ข้อเท็จจริง หรือรายละเอียดก่อนที่จะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะได้ดำเนินการป้องกันมิให้การกระทำผิดนั้นเกิดขึ้น หรือเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือรายละเอียดแห่งคดี หรือการกระทำผิดนั้นเกิดขึ้น หรือเพื่อที่จะได้ดำเนินการปราบปรามหรือจับกุมผู้กระทำความผิดนั้นๆ มาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ผู้สอบปากคำหรือผู้ซักถามนั้น หมายถึง เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนหรือพนักงานสอบสวน ผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการที่จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง และรายละเอียดก่อนที่จะมีการกระทำความผิดขึ้น เพื่อที่จะได้หามาตรการในการป้องกันการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นนั้น ๆ แล้ว เพื่อที่จะได้ดำเนินการในการปราบปรามหรือจับกุมผู้กระทำความผิดดังกล่าวแล้วนั้นการซักถามพยานหรือบุคคลผู้ถูกซักถาม ในการดำเนินการสอบสวนปากคำพยานหรือซักถามบุคคลผู้ถูกซักถามนั้น สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ พนักงานสืบสวนและสอบสวน จะต้องมีลักษณะที่แสดงความเป็นกันเองละมุนละม่อม มีลักษณะในการพูดชักจูงใจหรือเร้าใจเพื่อให้ผู้ถูกซักถามให้การตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นหรือตามที่ได้พบเห็นหรือรู้เห็นมา อย่างไรก็ดี ในการดำเนินการเพื่อการสอบสวนพยานหรือซักถามปากคำผู้ถูกซักถามเจ้าพนักงานผู้ทำการสืบสวนสอบสวน ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้นเสียก่อน เพื่อง่ายและสะดวกในการที่จะสอบสวนหรือซักถามปากคำ และนอกจากนั้นก็จำต้องศึกษาถึงทัศนคติ หรือประเภทของพยานหรือบุคคลผู้ถูกซักถามนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้เพราะทัศนคติหรือประเภทของพยานหรือผู้ถูกซักถาม แต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกัน เช่น 1) พยานหรือผู้ถูกซักถามบางคนเป็นคนไม่ค่อยชอบพูด หรือไม่เต็มใจในการให้การหรือให้ถ้อยคำ ผู้ซักถามก็จะต้องใช้ความพยายามอดทนเพียรใช้คำถามหลาย ๆ ครั้ง เร้าใจ ชักจูงใจ เพื่อให้บุคคลผู้ถูกซักถาม หรือพยานดังกล่าวให้ถ้อยคำหรือให้การตามความเป็นจริงหรือตามที่ได้รู้เห็นมา 2) พยานหรือผู้ถูกซักถามบางคนเป็นคนช่างพูด ในการซักถามก็ต้องพยายามกำหนดขอบเขตหรือชักจูงให้พยานหรือผู้ถูกซักถามนั้น ๆ ให้การหรือให้ถ้อยคำตามความเป็นจริง 3) พยานหรือผู้ถูกซักถามบางคนเป็นคนขี้ขลาด กลัว ไม่สนใจใยดีในการที่จะให้การหรือให้ถ้อยคำ พยานหรือผู้ถูกซักถามประเภทนี้บางครั้งผู้ซักถามนอกจากจะต้องใช้วิธีให้บิดามารดา สามีหรือภรรยาหรือบุตรของบุคคลดังกล่าวช่วยพูดจา หรือเจรจาหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลดังกล่าวให้การหรือให้ถ้อยคำตามที่ได้รู้เห็นมาหรือตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นด้วย ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงเห็นได้ว่าในการสอบสวนพยานหรือการซักถาม ผู้ถูกซักถามนั้น นอกเหนือจากการที่ผู้ซักถามหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนจะใช้วิธีการตามหลักแห่งการสอบสวนหรือการซักถามแล้ว บางครั้งก็อาจจะต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลอื่นช่วยพูด หรือเจรจาเพื่อให้บุคคลดังกล่าวให้การหรือให้ถ้อยคำด้วยความสัตย์จริงตามที่ได้รู้เห็นมาด้วยการซักถามบุคคลทั่วไป การซักถามบุคคลทั่วไปก็คือ การซักถามบุคคลทั่วไปที่รู้เห็นข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดแห่งการกระทำผิด หรือทราบในพฤติการณ์แวดล้อมของการกระทำความผิด บุคคลดังกล่าวประเภทนี้ ส่วนมากจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั่ว ๆ ไป การสอบสวนหรือซักถามบุคคลประเภทนี้ โดยหลักหากทำการสอบสวนหรือซักถามเพื่อขอให้เป็นพยาน จะไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าที่ควร และการสอบสวนหรือซักถามในรูปแบบที่เป็นพิธีการมากจะไม่ค่อยได้รับข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดมากนัก การซักถามบุคคลประเภทนี้ โดยหลักแล้ว ควรที่จะกระทำโดยการที่เจ้าพนักงานฝ่ายสืบสวน หรือพนักงานสอบสวนแต่งกายนอกเครื่องแบบทำตนคล้ายประชาชน ทำตนปะปนหาข่าวต่อประชาชนทั่วไป และสอบสวน หรือซักถามไปเรื่อย ๆ เพื่อหาข้อมูลข้อเท็จจริงแล้วนำมาสรุปเพื่อประเมิน วิเคราะห์ แยกแยะพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงตามที่ได้นั้น เพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดต่อไป การซักถามเป็นการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการหาความจริง ปัจจัยสำคัญ จึงขึ้นอยู่กับประชาชน การเข้าหาประชาชน โดยการสร้างความไว้วางใจ ประชาชนจะเป็นหลักสำคัญ ซึ่งในทศวรรษหน้าต้องพึ่งพาเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย มีเทคโนโลยีที่สูง มีการเก็บข้อมูลที่มีฐานข้อมูลเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์การกระทำความผิดต่อไปเทคนิคการหาข้อมูลการหาข้อมูล ข้อเท็จจริงและหลักฐานของคดีที่เกิดขึ้น 1. การรับแจ้งเหตุ 1.1 ให้ความสำคัญกับผู้แจ้งหรือผู้โทรมาแจ้งเหตุ รับฟังเหตุการณ์ที่แจ้งด้วยความสนใจ 1.2 ให้ผู้แจ้งได้บอกเล่าเรื่องที่แจ้งโดยสังเขปทั้งหมดก่อน อย่าพูดขัดจังหวะผู้แจ้ง 1.3 ระหว่างรับแจ้งเหตุ ควรจดบันทึกวัน เวลาและเหตุที่รับแจ้ง เบื้องต้น 1.4 สอบถามประเด็นสำคัญที่แจ้งให้ชัดเจน และที่อยู่พร้อมเบอร์โทรศัพท์ของผู้แจ้งที่สามารถติดต่อได้กรณีผู้แจ้งเปิดเผย 1.5 เป็นเหตุความผิดคดีอาญา ให้รีบแจ้งประสานเจ้าหน้าที่สืบสวนที่รับผิดชอบทันที 1.6 เมื่อได้รับแจ้งเหตุให้เจ้าหน้าที่เวรสืบสวนรีบเดินทางไปร่วมตรวจสถานที่เกิดเหตุในทุกคดี 2. การหาข้อมูลในที่เกิดเหตุ 2.1 ฝ่ายสืบสวนต้องจัดเวรคู่กับพนักงานสอบสวนเวร เพื่อรับผิดชอบการสืบสวนคดีที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน 2.2 ฝ่ายสืบสวนต้องไปดูสถานที่เกิดเหตุเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยประสานกับ พนักงานสอบสวนเวร และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดี เช่น แพทย์ ฝ่ายพิสูจน์หลักฐาน ฝ่ายสืบสวนควรเก็บภาพถ่ายไว้ส่วนหนึ่งด้วย 2.3 ตรวจสอบสภาพของสถานที่เกิดเหตุ และบริเวณโดยรอบเพื่อทราบเส้นทางเข้าออกสถานที่ เกิดเหตุ บรรยากาศในวันและเวลาเกิดเหตุ ตำแหน่งของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ความเสียหายที่เกิดขึ้น ร่องรอยหลักฐานต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีและการกระทำผิดของคนร้าย 2.4 ตรวจสอบพยานบุคคล เหยื่อ คนร้าย บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะของบุคคลทั้งรูปพรรณ และพฤติกรรมในคดี ตำแหน่งของบุคคลที่เกี่ยวข้อง คนรู้จักกับบุคคล ที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดเกี่ยวกับตัวบุคคล ชื่อ นามสกุล อายุ ที่อยู่ ประวัติ สถานะครอบครัว เบอร์โทรศัพท์ต่าง ๆ ยานพาหนะที่มีและใช้ ประกันสังคม ประกันภัย ตำแหน่งหน้าที่การงาน และรายละเอียดอื่น ๆ เท่าที่จะหาได้ 2.5 ตรวจหาพยานวัตถุต่าง ๆ เช่น อาวุธ ยานพาหนะ เลือด รอยลายนิ้วมือ รอยเท้า อาหาร เครื่องดื่ม สภาพศพ สภาพบาดแผล ภาพถ่ายต่าง ๆ วีดีโอ เป็นต้น รวมทั้งพยานเอกสารที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงการกระทำผิด ของคนร้ายหรือเป็นหลักฐานใดในคดี 2.6 หลังเสร็จสิ้นการไปดูสถานที่เกิดเหตุ หากจำเป็นเร่งด่วนควรประชุมหารือกัน เพื่อวางแนวทางในการสืบสวนสอบสวนอาจใช้สถานที่เกิดเหตุหรือสถานที่ทำงานและควรมีรายละเอียดของการประชุมหารือประกอบไว้ใน สำนวนการสอบสวนด้วยทุกครั้ง (กรณีประชุมมากกว่า 1 ครั้ง ) 2.7 ในแต่ละคดีฝ่ายสืบสวนจะต้องจัดแบ่งหน้าที่ให้กับเจ้าหน้าที่ไว้โดยชัดเจน 2.7.1 ฝ่ายเอกสารมีหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ ภาพถ่าย ตรวจเอกสารเกี่ยวกับบุคคลหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ และเอกสารอื่น ๆ บันทึกการประชุม 2.7.2 ฝ่ายตรวจสอบสถานที่ บุคคล ทำหน้าที่ในการเฝ้าจุดสถานที่สะกดรอยบุคคล พาหนะ โดยต้องมีอุปกรณ์ต่าง ๆ และพาหนะที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ 2.7.3 ฝ่ายเทคนิควิทยาการ เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ การพิสูจน์หลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ 2.7.4 ฝ่ายซักถามพยาน ผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา จะต้องเลือกผู้มีประสบการณ์และรอบรู้เนื้อหาของคดี 2.8 หลังจากการทำงานผ่านไประยะหนึ่งต้องมีการประชุมร่วมกันระหว่าง ฝ่ายสืบสวน ฝ่ายสอบสวนการพิสูจน์หลักฐาน เพื่อแจ้งความคืบหน้าของงาน 2.9 หากจะต้องมีการตรวจค้น หรือจับกุม ฝ่ายสืบสวนจะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบเฝ้าดูเป้าหมายที่จะดำเนินการ 2.10 หลังจากมีการดำเนินการตรวจค้นจับกุมแล้ว ฝ่ายสืบสวนยังต้องมีหน้าที่ในการประสานงานกับฝ่ายสอบสวนเพื่อทราบรายละเอียดจากกลุ่มผู้ต้องหา และนำมาวิเคราะห์กับพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่ว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่อย่างไร 2.11 ต้องกำหนดตัวบุคคลที่จะต้องให้การในฐานะพยานผู้สืบสวนในแต่ละคดี 2.12 เมื่อเสร็จสิ้นแต่ละคดีต้องจัดทำแฟ้มเก็บรายละเอียด โดยมีรายละเอียดขั้นตอนการสืบสวน ปรากฏไว้และต้องมีการประชุมเฉพาะฝ่ายสืบสวนเพื่อหาข้อบกพร่องนำมาปรับปรุงแก้ไขในแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงานที่ผ่านมาหลักการหาข้อมูลแหล่งข้อมูล 1. ข้อมูลทางทะเบียน จากข้อมูลทางทะเบียนราษฎร์ ทะเบียนยานพาหนะ ทะเบียนอาวุธปืน 2. ข้อมูลทางการเงิน จากสถาบันการเงินต่าง ๆ รวมถึงบัตรเครดิต 3. ข้อมูลทางสุขภาพ จากสำนักงานประกันสังคม บัตรประกันสุขภาพ 4. ข้อมูลการตรวจพิสูจน์ จากกองพิสูจน์หลักฐาน กองทะเบียนประวัติอาชญากร สถาบันนิติเวชวิทยา 5. ข้อมูลการเดินทาง จาก สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สายการบิน รถประจำทาง เรือโดยสาร 6. ข้อมูลการติดต่อสื่อสาร จากผู้ดำเนินกิจการด้านโทรศัพท์ หรือ การสื่อสารด้านอื่น ๆ 7. ข้อมูลรูปพรรณทรัพย์ จากโรงรับจำนำ ร้านค้าของเก่า ร้านค้าทอง อู่ซ่อมรถ 8. ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติด จากสำนักงาน ป.ป.ส. 9. ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ซักถาม พยาน ผู้กล่าวหา และผู้ต้องหา 10. ข้อมูลจากการเฝ้าจุดสะกดรอย 11. ข้อมูลจากการใช้สายลับและเครื่องมือเทคนิคต่างๆการรวบรวมข้อมูล 1. การรายงานข่าว อาจจะกระทำโดยใช้กรรมวิธีในการให้ได้มาที่ต่างกัน 2. แหล่งข่าวเปิด คือแหล่งข่าวที่เปิดเผยต่อประชาชนได้ เช่น ข้อมูลจากโรงรับจำนำ อู่ซ่อมรถ ซึ่งจะรวบรวมโดยใช้ จนท. ไปสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมเอกสาร 3. แหล่งข่าวกึ่งปิด คือแหล่งข่าวที่ไม่เผยแพร่ต่อบุคคลทั่วไป ใช้ในราชการเท่านั้น เช่น ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ข้อมูลจาก ป.ป.ส. ข้อมูลของสถาบันการเงิน 4. แหล่งข่าวปิดหรือลับ คือข้อมูลที่ได้มาทางลับ เช่น การสะกดรอยติดตาม การเฝ้าฟังโทรศัพท์ ซึ่งต้องใช้กรรมวิธีทางเทคนิคช่วยในการรวบรวมการดำเนินการกับข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ที่มาของสายข่าว สายลับ หรือแหล่งข่าว ว่ามีวัตถุประสงค์อย่างไรต่อการให้ข่าว 2. เนื้อหาสาระของข่าวที่ได้รับมา เมื่อวิเคราะห์ความเหมาะสม หาความเชื่อมโยงกันแล้วสามารถเป็นไปได้ เกื้อเราลซึ่งกันและกัน 3. ต้องแยกว่าข่าวที่ได้มานั้นเป็นอย่างไร ระหว่างข้อเท็จจริง ความเห็น ข่าวลือ การอนุมานกล่าวคือ จะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้และความน่าเชื่อถือของข่าวตัวอย่างการหาข้อมูลคดีต่างๆ คดีฆาตกรรม คดียาเสพติด คดีเกี่ยวกับทรัพย์การหาข้อมูลในคดีฆาตกรรม1. การรับแจ้งเหตุเบื้องต้น 1.1 ลงวันเดือนปี และเวลาของการแจ้งที่ชัดเจน 1.2 วิธีแจ้ง เช่น โทรศัพท์ วิทยุ หรือคน (ทั้งนี้ บางคดี ฆาตกร หรือผู้เกี่ยวข้องอาจเป็นผู้แจ้งเอง) 1.3 นาม ตำแหน่ง หรือยศ ผู้รับแจ้ง และข้อมูล อื่น ๆ ที่แสดงให้ทราบถึงบุคคลที่รับแจ้งเพื่อเป็นข้อมูลแก่นักสืบ2. เมื่อถึงสถานที่เกิดเหตุ 2.1 บันทึกวัน เดือน ปีเวลาที่ถูกต้องเมื่อไปถึงที่เกิดเหตุ 2.2 บันทึกสถานที่ บ้านเลขที่ที่ถูกต้องของที่เกิดเหตุ 2.3 บันทึกสภาพอากาศ แสงสว่าง เสียง (การได้ยิน) ทั้งข้างนอก/ใน ที่เกิดเหตุ มีสภาพอย่างไร 2.4 ให้สอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือบุคคลอื่น ๆ ที่พบที่เกิดเหตุเป็นคนแรก เพื่อใช้ลำดับเหตุการณ์ 2.5 กำหนดขอบเขตของการหาข้อมูล,พยานหลักฐาน ณ สถานที่เกิดเหตุ 2.5.1 รักษาสภาพของสถานที่เกิดเหตุไว้ให้อยู่ในสภาพเดิมมากที่สุด ป้องกันไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในที่เกิดเหตุ 2.5.2 นำผลของการหาข้อมูล หาข่าวเบื้องต้นมาวิเคราะห์เพื่อหาพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ 2.6 จดบันทึกรายชื่อบุคคลที่อยู่ในสถานที่เกิดเหตุว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับที่เกิดเหตุ 2.7 จดบันทึกรายชื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น อัยการ แพทย์ เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน เป็นต้น 2.8 กรณีนำพยานหรือบุคคลอื่น ๆ ที่ถูกนำตัวมาสอบถามให้ปฏิบัติดังนี้ 2.8.1 แยกบุคคลดังกล่าวให้อยู่ห่างจากกัน 2.8.2 ดูแลความปลอดภัยบุคคลดังกล่าวอย่างดีที่สุด3. การจัดการสถานที่เกิดเหตุ 3.1 ต้องกำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 นาย เป็นผู้จดรายชื่อเจ้าหน้าที่หรือ บุคคลที่เกี่ยวข้องที่มายัง ที่เกิดเหตุ 3.2 ห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปยังสถานที่เกิดเหตุ 3.3 ให้ผู้มีอำนาจรับผิดชอบ ตัดสินใจในการตรวจค้นสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุอาชญากรรม 3.4 ให้มีการประสานงานกำหนดหน้าที่ และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าผู้ใดมีหน้าที่อย่างไรต่อสถานที่เกิดเหตุ4. การดำเนินการในที่เกิดเหตุ 4.1 ห้ามแตะต้อง เคลื่อนย้าย หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใด ๆ ในสถานที่เกิดเหตุจนกว่าเจ้าหน้าที่จะตรวจสถานที่เกิดเหตุเสร็จ 4.2 ต้องมีการบันทึกสภาพการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในสถานที่เกิดเหตุที่จำเป็นต่อการหาข้อมูล 4.2.1 ไฟฟ้าเปิดหรือปิด 4.2.2 ประตูเปิดหรือปิด ใส่กุญแจหรือไม่ 4.2.3 ศพถูกเคลื่อนย้ายหรือไม่ 4.2.4 หน้าต่างเปิดหรือปิด ใส่กลอนหรือไม่ใส่กลอน 4.2.5 จดรายชื่อของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เคลื่อนย้ายศพก่อน 4.2.6 ทรัพย์สินหรือของมีค่าใดถูกเคลื่อนย้ายหรือถูกแตะต้องบ้างหรือไม่ 4.2.7 แก๊สเปิดหรือปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เปิดหรือปิด 4.2.8 ถ้ามียานพาหนะเข้ามาเกี่ยวข้อง สภาพของเครื่องยนต์ติดเครื่องยนต์อยู่ หรือดับเครื่อง เครื่องยนต์เย็น อุ่น หรือร้อน 4.3 ห้ามใช้โทรศัพท์ที่ตั้งอยู่ภายในสถานที่เกิดเหตุ 4.3.1 โทรศัพท์มีเครื่องตอบรับหรือไม่ หรือสามารถรับฟังข้อความได้หรือไม่ ตรวจดูข้อความ ตรวจดูหมายเลขที่โทรฯครั้งหลังสุด หมุนหมายเลขแล้วฟังข้อความ ดูบันทึกข้อมูลการใช้โทรศัพท์ทั้งเข้า – ออก ให้บันทึกไว้ แล้วปิดผนึกเทป 4.3.2 คนตายมี VOICE MAIL หรือไม่ ตรวจดูข้อความ ตรวจดูหมายเลขครั้งสุดท้าย แล้วฟังข้อความหรือตรวจดูบริการตอบ ทำการบันทึก/ปิดผนึกเทป 4.4 มีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในสถานที่เกิดอาชญากรรมหรือไม่ ตรวจดูระบบ วัน เดือน ปี สุดท้ายที่ใช้ เอกสาร แผ่นดิสก์ (DISK) ข้อมูลในเครื่อง (HARDDISK) ตรวจดูข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจหา ข้อความที่พิมพ์ และบันทึกไว้ หรือตรวจดูข้อความ E-MAIL ฯลฯ 4.5 มีกล้องถ่ายรูปอยู่ในสถานที่เกิดอาชญากรรมหรือไม่ ล้างรูปและตรวจดูฟิล์ม ค้นหารูปถ่าย รูปผู้ที่เสียชีวิต เพื่อน ๆ กิจกรรมต่าง ๆ ฯลฯ 4.6 มีเครื่องบันทึกภาพและเสียง (VCR) หรือไม่ ตรวจดูเทปทั้งหมด ตรวจดูเทปในเครื่องใบค่าเช่า เทปส่วนตัว ฯลฯ รักษาไว้เพื่อพิจารณาตรวจดู 4.7 เอกสารส่วนตัว เช่น สมุดบันทึก สมุดบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต เอกสารการทำงานประจำ 4.8 หาวิธีการปกป้องหลักฐานจากการเสียหายเพราะสภาพอากาศในที่เกิดเหตุ 4.9 ห้ามผู้ใดสูบบุหรี่ในสถานที่เกิดเหตุ 4.10 ห้ามเปิดหรือปิดก๊อกน้ำ ห้ามกดชักโครก ห้ามใช้เครื่องอำนวยความสะดวกใด ๆ ในสถานที่เกิดเหตุ 4.11 บันทึกสภาพของไฟฟ้า ตะเกียง และเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ วิทยุ นาฬิกา ฯลฯ5. ตั้งศูนย์อำนวยการหาข้อมูลชั่วคราว 5.1 เลือกสถานที่ที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุโดยให้มีโทรศัพท์ 2 เครื่อง สำหรับโทรเข้าและออก 5.2 แจ้งหมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์อำนวยการหาข้อมูลชั่วคราว ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อความสะดวกในการติดต่อ 5.3 แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบถึงสถานที่ตั้งของศูนย์อำนวยการหาข้อมูลชั่วคราวได้แก่ 5.3.1 เจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์หลักฐาน 5.3.2 แพทย์ 5.3.3 อัยการ 5.3.4 เจ้าหน้าที่หาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง6. การหาข้อมูลบริเวณที่เกิดเหตุ 6.1 ให้หาข้อมูลบริเวณที่เกิดเหตุและบริเวณใกล้เคียงเพื่อหาพยานบุคคล 6.2 กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ทำหน้าที่ประสานงานจากเจ้าหน้าที่ที่ออกหาข้อมูล 6.2.1 รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี 6.2.2 ข้อมูลที่ได้จากการหาข้อมูล จะต้องจดบันทึกรายละเอียดไว้ในรายงาน 6.2.3 ตรวจสอบยานพาหนะและบันทึกหมายเลขทะเบียนของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ในบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ 6.2.4 บันทึกรายงานการหาข้อมูล ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ออกหาข้อมูลให้ปรากฏสภาพแวดล้อมของที่เกิดเหตุดังนี้ 6.2.4.1 สถานที่ที่เป็นจุดล่อแหลม ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุ 6.2.4.2 อาคารสถานที่บ้านพักอาศัยที่ออกหาข้อมูลโดยให้ปรากฏถึง จำนวนบุคคล รายชื่อบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้น 6.2.4.3 บันทึกข้อมูลที่ได้จากการหาข้อมูลอย่างละเอียด7. การถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุ 7.1วิธีการถ่ายรูปในที่เกิดเหตุ ควรดำเนินการดังนี้ 7.1.1 ถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุทั้งหมด 7.1.2 ถ่ายรูปบริเวณและสถานที่ติดกันกับที่เกิดเหตุ 7.1.3 ถ่ายรูปฝูงชนหรือผู้ที่ยืนดูอยู่ 7.1.4 กรณีถ่ายรูปผู้ต้องสงสัย และ/หรือพยาน ให้ดำเนินการดังนี้ 7.1.4.1 ถ่ายรูปเสื้อผ้าและรองเท้าของผู้ต้องสงสัย 7.1.4.2 ถ่ายรูปบาดแผล (ที่ร่างกาย ใบหน้า มือ ฯลฯ) 7.1.4.3 ห้ามทำร่องรอยหรือเครื่องหมายใด ๆ ก่อนที่จะถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุเดิมเอาไว้ และสามารถทำเครื่องหมายหรือร่องรอยได้หลังจากดำเนินการขั้นต้นเรียบร้อยเพื่อถ่ายในลักษณะของการถ่ายใกล้ 7.1.4.4 ถ่ายรูปจากทั่ว ๆ ไปจนถึงเฉพาะเจาะจง 7.2 ระบุวัน เดือน ปี และเวลาที่ถ่ายรูป 7.3 ระบุสถานที่จริง ๆ ที่ถ่ายรูปไว้ 7.4 แสดงรูปร่างลักษณะของสิ่งของที่ถ่ายรูปไว้ 7.5 แสดงทิศทางรอบ ๆ (เหนือ ใต้ ตะวันออก หรือตะวันตก) 7.6 ต้องคำนึงถึง ชนิดของฟิล์มและกล้องถ่ายรูปที่ใช้ให้เหมาะสม 7.7 ต้องคำนึงถึงสภาพของแสงและอากาศ 7.8 นำวัตถุที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปรวมทั้งเครื่องมือของตำรวจ 7.9 แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่เกิดเหตุกับสิ่งแวดล้อม 7.9.1 สถานที่เกิดเหตุนอกบ้าน วัตถุที่ยึดติดประจำที่ ๆ เกี่ยวข้องกับสถานที่เกิดเหตุในระดับสายตา 7.9.2 สถานที่เกิดเหตุในบ้าน วัตถุที่อยู่ในห้อง เช่น ประตู หน้าต่าง ฯลฯ เพื่อให้ศพ “ติด” อยู่กับสถานที่เกิดอาชญากรรม 7.10 ข้อแนะนำการถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุ 7.10.1 ทางเข้าทางด้านหน้าตึก 7.10.2 ทางเข้าห้องหรือห้องชุดที่พบศพ 7.10.3 ภาพเต็มตัวสองภาพ 7.10.4 ภาพทั่ว ๆ ไปของศพ และสถานที่เกิดอาชญากรรม 7.10.5 ภาพถ่ายใกล้ ให้เห็นเต็มหน้า 7.10.6 ภาพบาดแผลที่มองเห็นได้ 7.10.7 ถ้าได้ย้ายเอาศพออกไป ก็ควรจะถ่ายรูปศพในสถานที่ดั้งเดิม 7.10.8 ภาพทางเข้าที่เป็นไปได้ หรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางหนี 7.10.9 บริเวณที่ใช้กำลังเพื่อจะเข้าไป หรือออก 7.10.10 ภาพบริเวณที่เกิดเหตุและหลักฐานวัตถุ ถ่ายใกล้ เช่น เปื้อนเลือด อาวุธ ปลอกกระสุนปืน ผม เนื้อเยื่อ ฯลฯ 7.10.11 ลายนิ้วมือ (พลาสติกเปื้อนเลือด และรอยนิ้วมือแฝง) “การยกใด ๆ” ควรจะถ่ายรูปไว้ก่อน จะเคลื่อนย้าย 7.10.12 หลังจากเคลื่อนย้ายศพไปแล้ว ควรจะถ่ายรูปเพิ่มเติมด้วย 7.10.13 บริเวณภายใต้ศพ 7.10.14 หลักฐานเพิ่มเติมใด ๆ ที่พบภายใต้ศพ8. การหาลายนิ้วมือแฝง 8.1ควรจะดำเนินการหา “ลายนิ้วมือแฝง” ในบริเวณดังต่อไปนี้ 8.1.1 บริเวณทางเข้าและทางออก 8.1.2 อาวุธหรือวัตถุซึ่งเห็นได้ชัดว่าถูกใช้ปฏิบัติการ 8.1.3 ที่จับประตู/ลูกบิดประตู 8.1.4 เครื่องมือต่าง ๆ ของโทรศัพท์ 8.1.5 หน้าต่าง 8.1.6 แว่นตา 8.1.7 สวิทซ์ไฟ 8.1.8 บริเวณที่เสียหายใหม่ ๆ 8.1.9 วัตถุที่หายไปจากที่ตั้งเดิม 8.2 ให้สังเกตว่าบริเวณบางแห่งที่จะต้องปฏิบัติการซึ่งอาจต้องใช้สารเคมีในการหาข้อมูล เช่น ลูมินอล นินไฮดริน ไซโนอคริเลต ฯลฯ เพื่อจะได้ลายนิ้วมือแฝงเป็นพยานหลักฐาน ให้พิจารณาทางเลือกโดยการโรยฝุ่น9. การบรรยายสภาพของศพ 9.1ควรจะบรรยายรูปร่างลักษณะทั้งหมดของศพลงไว้ในสมุดของผู้หาข้อมูลเพื่อเป็นเอกสารประกอบรวมทั้งข้อมูล ดังต่อไปนี้ 9.1.1 ตำแหน่งของศพ 9.1.2 เพศ / เชื้อชาติ / อายุ / สีผม 9.1.3 รูปร่างที่ปรากฏแก่สายตา 9.1.4 โครงสร้าง 9.1.5 ลักษณะของเสื้อผ้า 9.1.6 มีทรัพย์สินใดติดตัวหรือไม่ 9.1.7 ร่องรอยบาดเจ็บที่เป็นหลักฐาน (แผลถลอก รอยกัด บาดแผล ฯลฯ) 9.1.8 สภาพของศพ 9.1.8.1 การแข็งตัวของร่างกายที่ตายแล้ว (Rigor Mortis) 9.1.8.2 Livor Mortis 9.1.8.3 แยกการบรรยายออกเป็นส่วน ๆ (บรรยายให้ละเอียด) 9.1.8.4 เลือดเปียก หรือแห้ง 9.1.8.5 การเกิดของหนอนหรือแมลง 9.1.8.6 การเน่า 9.1.9 สภาพของศพตรงกับข้อเท็จจริงที่รู้หรือไม่ 9.1.10 สังเกตและบันทึกสภาพของมือเหยื่อ เพื่อหาร่องรอย ผม เนื้อเยื่อ (ส่อให้เห็นว่าป้องกันตัวหรือไม่) 9.1.11 สังเกตและบันทึกรอยรีดและรอยพับบนเสื้อผ้าของเหยื่อ 9.1.12 สภาพกระเป๋าของเหยื่อเป็นอย่างไร? 9.1.13 ตรวจดูบริเวณรอบศพทันทีเพื่อหาหลักฐาน 9.1.14 บันทึกทิศทางและขนาดของการเปื้อนเลือดใด ๆ 9.1.15 ตรวจสอบดูเสื้อผ้าและรองเท้า เพื่อหาร่องรอยไว้เป็นหลักฐาน10. การตรวจสอบทางการแพทย์เบื้องต้น ณ สถานที่เกิดเหตุ 10.1 บันทึกเวลาที่แพทย์ไปถึง 10.2 คาดคะเนเบื้องต้นถึงเวลาที่เสียชีวิต 10.3 บันทึกลงเป็นเอกสารประกอบ ถึงสาเหตุที่เห็นได้ชัดเจนว่าทำให้ถึงแก่ความตาย หลังจากปรึกษากับแพทย์ผู้ตรวจ 10.4 บาดแผลตรงกับอาวุธของผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องหรือไม่ 10.5 การนำศพออกไป 10.5.1ใช้ผืนผ้าใหม่ หรือที่ซักรีดแล้ว ห่อศพก่อนจะเคลื่อนย้าย 10.5.2 เอามือของเหยื่อใส่ถุงกระดาษ (ไม่ใช่ถุงพลาสติก) เพื่อรักษาร่องรอยใด ๆ ที่เป็นหลักฐานอยู่ที่ใต้เล็บมือ11. กรณีพบอาวุธ 11.1 กรณีเป็นอาวุธปืน อย่าพยายามเอากระสุนปืนออก 11.2 ให้บันทึกว่าอาวุธอยู่ที่ใด 11.3 รักษาอาวุธให้ปลอดภัยเพื่อให้ทางศาลตรวจสอบดู (นี่ไม่ใช่จะเป็นเรื่องการเคลื่อนไหวของกระสุนปืนเท่านั้น แต่เป็นเรื่องความสามารถในการปฏิบัติการด้วย) 11.4 ให้ถ่ายรูปอาวุธไว้ก่อนจะตรวจสอบต่อไป 11.5 ถ้าเป็นอาวุธปืน ให้ตรวจดูเขม่าที่ผู้ต้องสงสัย หรือที่ศพ เพื่อทำการทดลองวิเคราะห์ร่องรอยที่เหลืออยู่ 11.6 พิจารณาว่าอาวุธนั้นเดิมมาจากไหน 11.7 พิจารณาว่ามีเลือด หรือร่องรอยเป็นหลักฐานอยู่บนอาวุธหรือไม่ 11.8 หากมีการยิง ต้องหาหัวกระสุน ปลอกกระสุน ในที่เกิดเหตุให้ได้12. เมื่อนำผู้ต้องสงสัยมาซักถามปากคำ 12.1 ต้องระลึกอยู่เสมอว่าผู้ต้องสงสัยเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่เกิดอาชญากรรม 12.2 เมื่อพบผู้ต้องสงสัยอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ ให้นำตัวออกจากสถานที่เกิดเหตุโดยทันที โดยให้รักษาเสื้อผ้าของผู้ต้องสงสัยให้อยู่ในสภาพเดิมอย่างที่สุด เพื่อค้นหาร่อยรอยในการพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องสงสัย 12.3 ห้ามผู้ต้องสงสัยล้างมือ หรือกระทำการใด ๆ ที่กระทำให้หลักฐานที่ติดอยู่ในตัวผู้ต้องสงสัยเปลี่ยนแปลงหรือถูกทำลายไป 12.4 ให้สังเกตดูตามร่างกายของผู้ต้องสงสัยว่ามีบาดแผลใด ๆ หากพบว่า มีบาดแผลให้รีบถ่ายรูปไว้โดยการทำเครื่องหมาย บาดแผลที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ในการอ้างอิงเป็นหลักฐานทางคดี 12.5 ให้บันทึกถ้อยคำของผู้ต้องสงสัยที่ได้กล่าวขึ้นมาขณะนำตัวผู้ต้องสงสัยมายังสถานีตำรวจ 12.6 ระมัดระวังในการติดต่อระหว่างผู้ต้องสงสัยกับบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง 12.7 พึงระวังคำพูดของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ระหว่างพูดคุยกันเองต่อหน้าผู้ต้องสงสัย13. การซักถามผู้ต้องสงสัยในที่เกิดเหตุ 13.1 บันทึกการปฏิบัติการเป็นเอกสารรายงานการหาข้อมูล 13.2 อนุญาตให้ผู้ต้องสงสัยพูดได้เต็มที่ 13.3 ให้ผู้ต้องสงสัยเขียนบันทึกที่ผู้ต้องสงสัยพูดไว้ตามข้อ 2 และลงลายมือชื่อกำกับไว้ 13.4 กันผู้ต้องสงสัยออกจากบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ 13.5 เจ้าหน้าที่ตำรวจนำผู้ต้องสงสัยไปยังสถานที่ใด ๆ ไม่ควรสนทนาหรือ ซักถามผู้ต้องสงสัย หากผู้ต้องสงสัยต้องการจะพูดคุยเกี่ยวกับคดี ควรแนะนำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้นั้นจดเป็นบันทึกไว้เป็นหลักฐาน 13.6 กรณีนำตัวผู้ต้องสงสัยไปถึงสถานีตำรวจควรแยกการดูแลผู้ต้องสงสัยไม่ให้ปะปนกับผู้อื่น 13.7 ถ้อยคำที่ผู้ต้องสงสัยอ้างว่าได้กระทำไปเพราะเหตุใด หรือไม่ได้กระทำไปเพราะเหตุใดให้จดบันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร14. การจำแนกวัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุ 14.1 ทำเครื่องหมายไว้บนน่ารักบห่อของวัตถุพยานที่เก็บได้ในที่เกิดเหตุ 14.2 จัดหาเส้นกั้นแนวที่เกิดเหตุให้ปรากฏชัดป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป 14.3 กำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำการค้นในที่เกิดเหตุว่าผู้ใดมีหน้าที่ในการดูแลหลักฐานทั้งหมด 14.4 ให้บันทึก ชื่อ และหน่วยของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคนที่เข้าร่วมตรวจค้นสถานที่เกิดฆาตกรรม 14.5 ถ่ายรูปหลักฐานทั้งหมดในสภาพเดิม 14.6 บันทึกสภาพและที่ตั้งของหลักฐานทั้งหมด โดยสเกตซ์ภาพสถานที่เกิดอาชญากรรมลงในสมุดบันทึกข้อมูล 14.7 บันทึกชื่อของตำรวจหรือบุคคลที่พบหลักฐานวัตถุใด ๆ และสถานที่พบ 14.8 ควรใช้เทปวัดระยะห่างของจุดที่พบหลักฐานใด ๆ กับจุดอ้างอิงในที่เกิดเหตุเพื่อให้ทราบถึงระยะห่างของหลักฐานที่พบ 14.9 กรณีใช้อาวุธปืนในการกระทำความผิด ควรตรวจสอบและดำเนินการดังนี้ 14.9.1 มีปลอกกระสุนปืนอยู่บริเวณสถานที่เกิดเหตุหรือไม่ 14.9.2 มีรอยลูกกระสุนปืนในบริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่ 14.9.3 มีการยิงกระสุนปืนออกไปกี่นัด 14.9.4 ตำแหน่งของลูกกระสุนปืนที่อยู่ในลูกโม่ของปืนพก 14.9.5 ปืนบรรจุกระสุนปืนหรือไม่ หากบรรจุมีลูกกระสุนปืนอยู่ในรังปืนหรือไม่ 14.10 บาดแผลของผู้ตาย สันนิษฐานว่าเป็นชนิดเดียวกับอาวุธของผู้ต้องสงสัยหรือไม่ 14.11 ตรวจหาร่องรอยที่สามารถจะเป็นพยานหลักฐานของอาวุธผู้ต้องสงสัย15. เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจที่เกิดเหตุ ควรปฏิบัติดังนี้ 15.1 ผู้มีอำนาจสูงสุดในที่เกิดเหตุควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ในการรักษาสภาพของที่เกิดเหตุไว้เพื่อการตรวจสถานที่เกิดเหตุเพิ่มเติมในภายหลัง 15.2 ควรรักษาสภาพที่เกิดเหตุไว้จนกระทั่งได้มีการสอบปากคำผู้ต้องสงสัย ซักถามพยานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์หรือบางกรณีอาจรักษาสภาพที่เกิดเหตุไว้จนกว่าคดีจะมีการพิจารณาในชั้นศาล 15.3 ให้ตรวจสอบตู้ไปรษณีย์ของผู้ตาย และจดวันเดือนปีของจดหมายที่พบในตู้ไปรษณีย์ตรวจหาจดหมายที่ยังไม่ได้ส่งและบันทึกข้อมูลไว้ในรายงานการหาข้อมูล 15.4 จดหมายเลขโทรศัพท์ของโทรศัพท์ที่อยู่ในที่เกิดเหตุ รวมถึงโทรศัพท์มือถือ เพื่อตรวจสอบต่อไป 15.5 หากจะต้องมีการเดินทางออกจากสถานที่เกิดเหตุชั่วคราวต้องจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้อย่างเคร่งครัด 15.6 ก่อนเสร็จสิ้นการตรวจที่เกิดเหตุให้ตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ 15.7 ใช้ถุงขยะพลาสติกขนาดใหญ่เพื่อใส่วัสดุที่ไม่เกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานที่เกิดเหตุ เช่น ห่อฟิล์ม กล่องใส่ฟิล์มของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อป้องกันความสับสนของวัตถุพยาน16. ประชุมสรุปสาเหตุที่เกิดอาชญากรรม - พยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ 16.1 ตั้งประเด็นสาเหตุการฆาตกรรม ผู้ต้องสงสัย อาจจะมีหลายประเด็นก็ได้ และเริ่มตรวจสอบจากประเด็นสาเหตุผู้ต้องสงสัยกลับมายังพยานหลักฐานที่พบในสถานที่เกิดเหตุว่าประเด็นใดใกล้เคียงหรือมีความเป็นไปได้มากที่สุด 16.2 ติดต่อ กองพิสูจน์หลักฐาน หรือ วิทยาการตำรวจ ผู้ตรวจที่เกิดเหตุ แพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพ นำหลักฐานที่ตรวจพบ หาข้อมูลกลับไปยังประเด็นและผู้ต้องสงสัยที่ตั้งไว้ 16.3 เริ่มตรวจสอบตัวบุคคล ที่อยู่ในประเด็นที่ ตั้งไว้ ว่าเป็นผู้ที่อยู่ในที่เกิดเหตุ (ฆาตกร) ได้หรือไม่ โดยอาศัยหลักพื้นฐานของคดี เช่น มีพยานบุคคลยืนยันหรือไม่ มีวัตถุพยานใดๆ ในที่เกิดเหตุยืนยัน เช่นตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือ 16.4 เริ่มต้นจากพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุที่มีอยู่ เช่น หากตรวจพบลายนิ้วมือแฝงและตรวจได้ว่าเป็นบุคคลใดก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าเก็บได้เฉพาะตัวอย่าง ดี เอ็น เอ หรือ ร่องรอยปลอกกระสุนปืน ฯลฯ ซึ่งจำต้องได้บุคคลหรือวัตถุมาเป็นตัวเปรียบเทียบ ก็ยังเป็นเรื่องยากอยู่ คงต้องใช้เรื่องประเด็นสาเหตุฆาตกรรมมาเป็น ตัวเปรียบเทียบ17. การหาข้อมูลติดตามหาตัวผู้กระทำผิดคดีฆาตกรรมโดยทั่วไปมีความยากตรงที่จะสามารถระบุได้อย่างไรว่าใครคือผู้กระทำผิด แต่ก็ไม่มีอาชญากรคนใดไม่ทิ้งร่องรอยไว้ ดังนั้นนักสืบจะต้องมีความละเอียด รอบคอบในเรื่องสถานที่เกิดเหตุ เพราะถึงแม้ว่าผู้กระทำผิดจะเข้ามารับสารภาพต่อเจ้าหน้าที่เองในภายหลัง สถานที่เกิดเหตุก็จะเป็นตัวบ่งบอกว่าเป็นผู้กระทำผิดตัวจริงหรือไม่การหาข้อมูลในคดียาเสพติด การหาข้อมูลคดียาเสพติดทั่วไป 1.จัดทำแฟ้มการสืบสวนคดีเครือข่ายการผลิต, การลำเลียง, การจำหน่ายโดยแยกแต่ละแฟ้ม 2. ตรวจสอบทะเบียนราษฎร์, ภาพถ่ายของบุคคลในเครือข่าย 3. ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์บ้าน มือถือของบุคคลในเครือข่าย 4. ตรวจสอบการใช้โทรศัพท์ตามข้อ 3 5. แผนผังการใช้โทรศัพท์จากข้อ 4 6. จัดทำความถี่การใช้โทรศัพท์จากข้อ 4 7.ตรวจสอบความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันของบุคคลตามข้อ 6 8. ทำแผนผังความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันตามข้อ 2 9. ถ่ายรูปสถานที่สำคัญตามการตรวจสอบข้อมูล ตามข้อ 2 และข้อ 7 10. ตรวจสอบภาพถ่ายบุคคลจากทะเบียนราษฎร์ตามข้อ 7 ตรวจสอบการใช้บัตรใน โครงการสวัสดิการของรัฐ และตรวจสอบทะเบียนรถจักรยานยนต์, รถยนต์, อาวุธปืน 11. จัดทำแผนผังเครือข่ายให้ปรากฏรายละเอียดทั้งหมด 12. วิเคราะห์ว่าบุคคลใดมีหน้าที่ความรับผิดชอบใดในองค์การตามแผนผังเครือข่ายของการผลิต, การลำเลียง, การจำหน่าย 13. จัดทำรายงานการหาข้อมูลทุกครั้งที่ปฏิบัติงานในคดี 14. ตรวจสอบทรัพย์สินของผู้เกี่ยวข้องในองค์การเครือข่ายเพื่อใช้มาตรการยึดทรัพย์ของ ปปง. และ ปปส. 15. ประสานพนักงานสอบสวนเพื่อขอออกหมายจับในกรณีจับกุมบุคคลใดบุคคลหนึ่งในเครือข่ายได้ โดยการใช้วิธีการสะกดรอยติดตามความเคลื่อนไหว 16. เมื่อจับกุมผู้ต้องหารายใดได้ ให้เขียนบันทึกคำรับสารภาพด้วยลายมือของผู้ต้องหาเอง โดยให้ปรากฏถึงหน้าที่และประโยชน์ที่ได้รับจากการค้ายาเสพติด 17. กำหนดหน้าที่บุคคลในชุดจับกุมว่าผู้ใดจะเป็นพยานในคดี 18. ซักซ้อมความเข้าใจรายละเอียดในคดีก่อนการเป็นพยาน 19. เมื่อผลการตรวจพิสูจน์ของกลางออกมา ให้ทำเรื่องขอเบิกเงินรางวัลครึ่งแรก 20. เมื่ออัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหา ให้ทำเรื่องขอเบิกเงินรางวัลครึ่งหลัง 21. ติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่เหลือในเครือข่ายประสานพนักงานสอบสวนออกหมายจับ ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เหลือ 22. ส่งรายงานบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อขึ้นบัญชีเป็นบุคคลที่มีพฤติการณ์ค้ายาเสพติดให้ ปปส.ทราบ 23. จัดทำบัญชีผู้จำหน่ายยาเสพติดในเขตรับผิดชอบ รวมทั้งผู้เสพ ผู้ลำเลียง ผู้ผลิต ผู้สนับสนุน นายทุนหรือผู้อยู่เบื้องหลัง 24 ดำเนินการสืบสวนถึงเครือข่ายของผู้จำหน่าย ญาติพี่น้องและคนใกล้ชิด 25 ต้องหมั่นบันทึกคำให้การของผู้ถูกจับกุมในคดียาเสพติด ที่ให้การซัดทอดถึงผู้จำหน่าย ไว้ในฐานะพยาน เพื่อเป็นพยานหลักฐานในการจับกุมผู้จำหน่ายต่อไปในอนาคตการยึดทรัพย์และหาข้อมูลตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 1. เงื่อนไขในการสั่งตรวจสอบทรัพย์สิน 1.1 ต้องมีบุคคลเป็นผู้ต้องหาจะจับกุมตัวได้หรือไม่ก็ตาม 1.2 ต้องเป็นความผิดตามที่ พ.ร.บ.มาตรการฯ กำหนดไว้ คือ ความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครอง เพื่อจำหน่าย และสมคบกันกระทำความผิด 1.3 ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องเป็นยาเสพติดประเภทที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง (พ.ศ.2535) ที่ออกตาม พ.ร.บ. นี้ มีทั้งสิ้น 21 รายการ 1.4 ต้องมีตัวทรัพย์ของผู้ต้องหาและมีเหตุอันควรสงสัยว่าทรัพย์สินนั้นเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เหตุอันควรสงสัย หมายถึง ทรัพย์สินที่ผู้ต้องหามีอยู่หรือได้มา เกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพโดยสุจริต 2. ข้อมูลรายละเอียดในการเสนอเพื่อดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.มาตรการฯ 2.1 รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ต้องหา เช่น ประวัติส่วนตัว พฤติการณ์ อาชีพ ฯลฯ 2.2 รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น สมุดเงินฝาก โฉนดที่ดิน เงินสด ทองรูปพรรณ ยานพาหนะ ฯลฯ 2.3 รายละเอียดเจ้าของ หรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน กรณีผู้ต้องหาหลายคน ต้องทราบว่าทรัพย์สินรายการใด เป็นของผู้ต้องหารายใด 2.4 รายละเอียดการจับกุม 3. การเสนอขอตรวจสอบทรัพย์สิน 3.1 ตรวจค้นและตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ต้องหาตาม พ.ร.บ.มาตรการฯ จัดทำบันทึก ตรวจยึดเป็นของกลาง หรือทำบันทึกตรวจยึดไว้เพื่อตรวจสอบ 3.2 ประสานงานเจ้าหน้าที่ ปปส. ส่งบันทึกจับกุม บันทึกตรวจยึดทรัพย์สินเพื่อให้เจ้าหน้าที่ ปปส. เสนอเลขาธิการ ปปส. เพื่อสั่งให้ทำการตรวจสอบทรัพย์สินของกลาง หรือทรัพย์สินที่ตรวจยึดไว้ ตาม พ.ร.บ.มาตรการฯ 4. การยึดทรัพย์และสืบสวนตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 4.1 การกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันปราบปรามการฟอกเงินฯ มาตรา 5 จะต้องพิจารณาให้เข้าองค์ประกอบของกฎหมาย ดังนี้ 4.1.1 มีการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งผู้กระทำความผิดถูกจับตัวดำเนินคดีอยู่หรือมีพยาน หลักฐานว่ากระทำความผิดมูลฐาน แต่ยังไม่มีการดำเนินคดีตามความผิดมูลฐาน 4.1.2 ผู้กระทำความผิดมูลฐานได้รับเงิน หรือทรัพย์สินจากการกระทำความผิด หรือเป็นความผิด ที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งมีพยานหลักฐานหรือสามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้กระทำความผิดได้รับทรัพย์สินมาจากการกระทำความผิดมูลฐาน &n



หลักการสืบสวนคดีอาญาพ.ต.อ.ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล ศาสตราจารย์ (สบ 5) ภาควิชาการสืบสวน รร.นรต. การสืบสวนในตัวของมันเองยังไม่มีองค์ความรู้ในระดับทฤษฎี แต่อยู่ในระดับหลักการและเทคนิค การปฏิบัติตามหลักการจะทำให้มีผลการสืบสวนที่ได้ผล เทคนิคการสืบสวนเป็นเรื่องเฉพาะคดี เฉพาะสถานที่ เฉพาะบุคคล เฉพาะสถานการณ์ เทคนิคบางอย่างใช้ได้กับสถานที่แห่งหนึ่ง แต่กับอีกสถานที่หนึ่งเทคนิคดังกล่าวนำมาใช้ไม่ได้ผล ในวิชาการสืบสวนจึงมีการสอนหลักการเทคนิคการสืบสวนแต่การสืบสวนบางอย่างก็ไม่ได้ใช้หลักการแต่เป็น “โชค” โชคดีที่ทำการสืบสวนได้ทั้งที่ไม่ได้ลงทุนลงแรงอะไร เมื่อหลายปีผ่านมาผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่เป็นรองสารวัตร ทำหน้าที่หัวหน้าสายสืบอยู่ที่ สน.วัดพระยาไกร ได้มีสายลับแจ้งว่า นายถวิล ฯ เป็นคนต่างถิ่นมาเช่าบ้านพักอาศัยอยู่ในซอยกิ่งจันทร์ มีอาวุธปืน มีพฤติการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ แต่ผู้เขียนก็ยังไม่มีเวลาไปทำการสืบสวนอย่างจริงจังเพราะยังมีงานอื่นให้ติดตามสืบสวนอีกมากแต่ผู้เขียนก็ได้จดและทราบถึงตำหนิรูปพรรณของนายถวิล ฯ และได้รายละเอียดว่าน่าจะมีอาวุธปืนซุกซ่อนอยู่ในบ้าน สิ่งเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่ผู้เขียนได้รายละเอียดไว้แต่หน้าตาของนายถวิล ฯ เป็นอย่างไร ผู้เขียนไม่เคยเห็น วันหนึ่งผู้เขียนกับพวก 2-3 คนเดินตรวจท้องที่แต่งกายนอกเครื่องแบบ ได้เดินสวนกับชายผู้หนึ่งแต่งกายและมีลักษณะคล้ายนายถวิล ฯ ชายคนดังกล่าวเดินสวนกับผู้เขียนไม่มีอาการรู้จักผู้เขียนแต่อย่างใด เพราะถ้าเป็นผู้ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ในซอยดังกล่าวมักจะรู้จักผู้เขียนเสียเป็นส่วนมาก ผู้เขียนคิดว่าชายคนดังกล่าวน่าจะเป็นนายถวิล ฯ เมื่อผู้เขียนเดินสวนทางไปได้ประมาณ 3-4 ก้าว ผู้เขียนได้ตะโกนว่า “ถวิล” เท่านั้นแหละครับชายคนดังกล่าวหันมาตามเสียงที่เรียก ผู้เขียนจึงเดินกลับมาหาชายคนดังกล่าวออกอาการงง ๆ เล็กน้อยผู้เขียนยิ้มและเดินเข้าหาพร้อมทั้งทักทาย เมื่อถึงตัวชายคนดังกล่าว ผู้เขียนได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจขอตรวจหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน ชายคนดังกล่าวได้นำบัตรออกมาแสดง ชายคนดังกล่าวชื่อนายถวิล ฯ ผู้เขียนจึงเชื่อว่าน่าจะเป็นนายถวิล ฯ คนเดียวกับที่ผู้เขียนทราบประวัติและพฤติการณ์มา ผลการตรวจค้นพบอาวุธปืนพกจำนวน 1 กระบอก จึงได้นำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี สำหรับอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวเป็นอาวุธปืนที่ผลิตจากต่างประเทศตามสภาพน่าจะเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียน แต่ที่ปรากฏอยู่หมายเลขตัวปืน และหมายเลขทะเบียนได้ถูกขูดลบหายไปจึงได้สอบถามนายถวิล ฯ รับว่าได้ลักอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวมาจากผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่ง จึงได้พาผู้เขียนไปชี้ที่เกิดเหตุ ปรากฎว่านายถวิล ฯ ได้เข้าไปลักทรัพย์จากบ้านของผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่ง บ้านหลังดังกล่าวอยู่ในเขตอำเภอวังจันทร์ จ.ระยองโชคเหมือนฝนที่จะตกเมื่อไร เวลาใด เราไม่อาจจะหยั่งทราบ หน้าฝนมักจะมีฝนตกอยู่เสมอ ๆ ถ้าเรามีความพร้อมมีโอ่ง มีกระป๋องคอยรองรับน้ำฝนเราก็จะได้น้ำฝน แต่ถ้าเราไม่มีโอ่งไม่มีกระป๋องเพื่อรองน้ำฝนเมื่อฝนตกเราก็จะไม่ได้น้ำฝน แต่ถ้าเรามีโอ่งมีกระป๋องแต่ขณะที่ฝนตกเรากลับคว่ำโอ่งคว่ำกระป๋องเราก็จะไม่ได้น้ำฝนเช่นเดียวกัน ฝนคือโชคอาจจะเกิดเมื่อใดก็ได้ โอ่งน้ำและกระป๋องน้ำคือหลักการสืบสวนที่เราจะต้องมีอยู่เสมอการเปิดโอ่งหงายกระป๋อง คือเทคนิคที่จะให้ได้น้ำฝน ฝนตกแต่ไม่ได้น้ำฝน เสมือนมีโชคแต่ไม่ได้โชค หลักการสืบสวนจากทรัพย์ไปสู่ตัวคนร้าย มีขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นตอนการพิสูจน์ว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ผิดกฎหมายหรือไม่ ได้แก่ เป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด เป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด 2. ขั้นตอนไปสู่ตัวคนร้าย เมื่อทำการพิสูจน์ได้แล้วว่าทรัพย์เหล่านั้นเป็นทรัพย์ที่ มีไว้ได้มา ได้ใช้ เพื่อใช้ ในการกระทำความผิดย่อมแสดงว่า 2.1 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นคือคนร้าย หรือ 2.2 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นไม่ใช่คนร้าย แต่สามารถบอกเล่าเรื่องราวอันเกี่ยวกับทรัพย์นั้นได้ว่ามีความหมายเป็นมาอย่างไร อันจะนำไป สู่การแสวงหาข้อเท็จจริงต่อไป



แนวทางในการที่จะสืบสวนว่าทรัพย์ใดเป็นทรัพย์ที่ผิดกฎหมาย มีแนวทางดังนี้ 1. ตรวจสอบจากการจดทะเบียนของทรัพย์นั้น การจดทะเบียนนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นสองกรณี คือ 1.1 การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ 1.2 การจดทะเบียนทางปกครองเมื่อผู้สืบสวนพบทรัพย์ที่สงสัย และทรัพย์นั้นมีการจดทะเบียนไว้ ผู้สืบสวนก็สามารถที่จะตรวจสอบถึงความถูกต้องของทรัพย์นั้น ผลจากการตรวจสอบจะเป็นข้อมูลให้ผู้สืบสวนตัดสินใจกระทำการไปตามอำนาจและหน้าที่อย่างถูกต้องต่อไป 2. ตรวจสอบจากหมายเลขประจำตัวทรัพย์ บริษัทผู้ผลิตสินค้า และสินค้านั้นมีราคาสูงหรือมีความจำเป็นด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตามผู้ผลิตสินค้าจะสร้างหมายเลขประจำตัวทรัพย์ และมีการเก็บประวัติสินค้านั้นตามหมายเลขประจำตัวทรัพย์ เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ 3. ตรวจสอบจากรหัสลับประจำตัวทรัพย์ ทรัพย์บางประเภทมีความสำคัญต่อการให้บริการหลังการขาย เป็นทรัพย์ที่มีราคาสูง เป็นทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ เป็นทรัพย์ที่ผู้ผลิตต้องการควบคุมและติดตามตรวจสอบ 4. เอกสารประกอบตัวทรัพย์ 5. ตรวจสอบจากความเชื่อมโยงของตัวทรัพย์ โดยใช้สหวิทยาการ 5.1 พิสูจน์โดยอาศัยเหตุผลทางชีวเคมี 5.2 พิสูจน์โดยหลักวิชากลศาสตร์ 6. ตรวจสอบจากตำหนิที่ถูกสร้างบนตัวทรัพย์ ในการสืบสวนคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์มีหลักการสืบสวนที่สำคัญก็คือ 1. การสืบสวนจากคนร้าย ตัวทรัพย์ได้แก่การติดตามพฤติการณ์ของคนร้าย จัดทำประวัติภาพถ่าย จับคนร้ายได้ ก็ทำการขยายผลในคดีอื่น ๆ ต่อไป 2. การสืบสวนจากตัวทรัพย์ คนร้ายได้แก่การพิสูจน์ว่าทรัพย์ที่สงสัยนั้นเป็นทรัพย์ที่ผิดกฎหมายหรือไม่ ถ้าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ผิดกฎหมายก็แสดงว่าคนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นก็คือคนร้ายผู้กระทำผิดหรืออาจจะให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ในการสืบสวนทรัพย์ที่ผิดกฎหมายได้แก่ ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด ทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด และทรัพย์ที่มีไว้เพื่อจะใช้กระทำความผิด ในช่วงระยะปี พ.ศ. 2532 – 2535 ขณะที่ผู้เขียนทำงานอยู่ที่ ศปร. น. นั้น ทีมงานของ ศปร. น. มีผลการจับกุมคดีค้างเก่า และคดีสำคัญได้หลาย ๆ คดี แต่ละคดีก็เป็นการสืบสวนจากทรัพย์ไปสู่ตัวคนร้าย แต่เป็นคดีสำคัญ ๆ ทั้งสิ้น ทั้ง ๆ ที่ทีมงาน ศปร.น. ไม่มีเจตนาที่จะทำการสืบสวนคดีสำคัญ ๆ เหล่านั้นแต่อย่างใด แต่ที่จับกุมคนร้ายได้ก็เพราะตรวจรถและได้รถที่ถูกลักไป ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ไปเป็นการสืบสวนจากทรัพย์โดยอาศัยเอกสารประกอบตัวทรัพย์ ดังนั้นเอกสารประกอบตัวทรัพย์จึงมีความสำคัญ เป้าหมายของการสืบสวนคดีอาญา คือ “การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไป ตามอำนาจหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อทราบรายละเอียดแห่งความผิด” กล้องถ่ายรูปหัวใจของงานสืบสวน วิธีการทำงานที่ได้ผลอย่างหนึ่งของผู้เขียนคือ การนำกล้องถ่ายรูปติดตัวอยู่เสมอ มีประโยชน์ คือ 1. จับผู้กระทำผิดซึ่งหน้า 2. พูดคุยกับประชาชนขณะที่เดินตรวจ เพื่อให้ประชาชนเห็นว่าตำรวจไม่ทอดทิ้งประชาชนออกตรวจอยู่เสมอ 3. และที่สำคัญที่สุดคือ นำกล้องติดตัวไปเมื่อพบวัยรุ่นเดินสวนทางหรือจับกลุ่มคุยกันข้าง ทางผู้เขียนก้จะใช้กล้องถ่ายรูปถ่าย ภาพคนเหล่านั้นไว้ การเดินออกตรวจดังกล่าวทำให้เกิดความทั่วถึงในการตรวจและการตรวจจะกระทำอย่างไม่เป็นเวลา แต่ออกตรวจแทบทุกวันการกระทำดังกล่าวสามารถพบปะประชาชนได้อย่างทั่วถึงและสามารถถ่ายรูปวัยรุ่นได้อย่างทั่วถึงเช่นเดียวกัน เมื่อถ่ายภาพได้แล้วก็นำภาพถ่ายดังกล่าวมาล้างอัดขยายและจัดภาพให้เป็นระบบหมวดหมู่โดยนำภาพถ่ายของวัยรุ่นที่ถูกถ่ายภาพ ที่อยู่ในซอยเดียวกันมารวมไว้ในสมุดภาพเล่มเดียวกันจากนั้นก็ทำการศึกษาบุคคลตามภาพ
ภาพถ่ายติดฝาห้องทำงาน การจัดหาภาพถ่าย การบริหารภาพถ่ายของคนร้ายทำให้การทำงานของผู้เขียนบรรลุผล สำเร็จประการสำคัญ ของการจัดการกับภาพถ่ายก็คือ ผู้เขียนได้นำภาพถ่ายของผู้ต้องหาและผู้ที่มีประวัติลักรถติดไว้ที่ฝาของห้องทำงานจำนวนถึง 3 ด้าน รวมทั้งหมดประมาณ 800 กว่าภาพ เมื่อผู้เขียนมาถึงหน่วยงานก็จะทำความรู้จักกับภาพถ่ายดังกล่าว เกิดความคุ้นเคยภาพของคนเหล่านี้ ประทับไว้ที่ส่วนความจำของผู้เขียนติดตามว่าผู้มีประวัติคนใดเสียชีวิตไปแล้ว คนใดมีหมายจับอยู่คนใดกำลังกำลังต้องโทษอยู่ในเรือนจำ คนใดกำลังร่วมแก็งกับใคร และก่อนจะออกจากห้องกลับบ้านเพื่อพักผ่อนก็กวาดสายตามองภาพเหล่านั้นแล้วกล่าวคำอำลาในใจ การกระทำดังกล่าวทำให้ใจเราจดจ่ออยู่กับคนที่เป็นภัยต่อสังคมเพราะในขณะที่ผู้เขียนมีตำแหน่งสารวัตร งานของสารวัตรคืองานสืบสวนติดตามจับกุมผู้กระทำผิด ถ้าสารวัตรท่านใดไม่สนใจงานของตนเองมัวแต่บริการเจ้านาย ตีกอล์ฟ คุมบ่อนการพนัน วิ่งเต้นเอาตำแหน่ง พฤติการณ์ เหล่านี้เขาเรียกว่าเสียชาติเกิด ความเป็นมาตรฐานนั้น สามรถนำมาใช้กับงานด้านการสืบสวนคดีอาญาให้เกิดประสิทธิภาพได้ โดยหลักที่ว่า “สรรพสิ่งย่อมมีความคล้ายคลึงกันในภาวะนั้น ๆ แต่มีบางสิ่งที่แตกต่างจากสรรพสิ่งอื่นในสภาวะนั้น ๆ” จากการสังเกตจะพบว่า การทำงานสืบสวนในปัจจุบันจะมีการทำการสืบสวนจากคนร้ายไปสู่ตัวทรัพย์มากกว่า การสืบสวนจากทรัพย์มาสู่ตัวคนร้าย จึงทำให้งานด้านการสืบสวนไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผู้ทำการสืบสวนจะต้องทำการคาดการณ์เอาจากสถานที่เกิดเหตุและพยานหลักฐานที่ปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุเป็นอย่างไร ขณะเกิดเหตุมีข้อเท็จจริงอย่างไร หากผู้ทำการสืบสวนสามารถค้นพบวงจรของพฤติการณ์ในขณะเกิดเหตุ หากแตกต่างกันน่าจะเกิดจากปัจจัยบางประการมากระทำให้สิ่งนั้นแตกต่างไปจากสรรพสิ่ง ความเป็นมาตรฐานนั้นมีที่มาดังนี้ 1. เกิดจากกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เช่น รถที่บรรทุกของหนัก ดอกยางจะจมลงติดกับพื้นถนนมากกว่า ดอกยางของรถที่บรรทุกของเบากว่า ปรากฎการณ์นั้นเกิดจากธรรมชาติในเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก ถ้าเกิดฝนตกถนนจะต้องเปียก ศพที่ถูกแช่แข็งภายใต้อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งย่อมจะเน่าช้ากว่าศพที่ถูกทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะความเย็นทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ช้า ในการสืบสวนได้มีการนำหลักเกณฑ์ของธรรมชาติมาใช้ในการยุติข้อเท็จจริงบางประการ 2. เกิดจากการกำหนดของมนุษย์ เป็นเรื่องที่มนุษย์ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้ มีทั้งการกำหนดในลักษณะที่เป็นจารีตประเพณี และ กฎหมายที่บังคับ มาตรฐานที่ถูกกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ได้แก่ กฎหมาย ระเบียบของทางราชการ ที่บังคับใช้กับคนทั่วไป เช่น ระเบียบการพิมพ์และใช้เครื่องหมายแสดงการชำระภาษีรถยนต์ประจำปี เราอาจเรียกมาตรฐานเหล่านี้ว่า เป็นมาตรฐานทางนิตินัย 3. เกิดจากความเชื่อและความคิดเห็นของวิญญูชนในเรื่องนั้น ๆ เช่น ถ้าจะถามความคิดเห็นในเรื่องการขับรถบรรทุก ก็จะต้องเป็นความคิดเห็นของวิญญูชนผู้ที่ขับรถบรรทุกควรจะขับอย่างไร ตามวิสัยและพฤติการณ์เช่นนั้น ความคิดเห็นเรื่องการขับรถบรรทุกนั้นจะไปถามคนที่มีอาชีพขับเรือ ที่ไม่เคยขับรถน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น มาตรฐานของความคิดเห็น ของวิญญูชนในเรื่องนั้น ๆ จึงถือได้ว่ามีความเป็นมาตรฐานในระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ของธรรมชาติ หรือเกิดเป็นกฎเกณฑ์ จากข้อบัญญัติที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น ในเรื่องวัตถุ สิ่งของ หรือบุคคล ที่มาสัมพันธ์กันหรือความสัมพันธ์ของวัตถุกับวัตถุ บุคคลกับบุคคล ที่มาสัมพันธ์กันย่อมเกิดสิ่งใหม่หรือสถานการณ์ใหม่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นั้นย่อมจะมีอิทธิพลจากสิ่งเดิม ดังนั้นความสัมพันธ์ ของสรรพสิ่งจะมีลักษณะดังนี้ 1. สรรพสิ่งที่เป็นมาตรฐาน สิ่งที่ผิดไปจากมาตรฐานคือข้อสงสัยให้พิจารณาข้อสงสัยนั้นก็จะได้หลักฐานและข้อเท็จจริง ตัวอย่าง แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ทางราชการได้จัดทำขึ้นมีสี่สีคือ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีม่วง ถ้าหากพบว่ามีรถยนต์คันหนึ่งคันใดติดป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีเป็นสีส้ม แสดงว่าเป็นแผ่นป้ายวงกลมปลอม รถคันดังกล่าว น่าจะเป็นรถที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย 2. สรรพสิ่งที่มีความเป็นมาตรฐานตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปมาสัมพันธ์กัน ย่อมเกิดสิ่งใหม่ที่เป็นมาตรฐานถ้าสิ่งที่เกิดใหม่นั้นผิดไป จากมาตรฐานสิ่งนั้นคือข้อสงสัยให้พิจารณาข้อสงสัยนั้นก็จะได้หลักฐานและข้อเท็จจริง ตัวอย่าง ป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีฉบับหนึ่ง เป็นเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นไม่มีการแก้ไขข้อความ และไม่ใช่เอกสารปลอม ป้ายวงกลมดังกล่าว ติดอยู่กับกระจกรถด้านหน้าของรถยนต์คันหนึ่ง รถคันดังกล่าวมีหมายเลขตัวถัง อยู่ที่ตัวรถ หมายเลขตัวถังไม่ม ีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นหมายเลขตัวถังที่ถูกต้อง กรณีเช่นนี้ความเป็นมาตรฐาน ของแผ่นป้ายวงกลม และเลขตัวรถที่มาสัมพันธ์กันคือในแผ่นป้ายวงกลม ต้องปรากฎอยู่ที่ตัวถังรถยนต์ สิ่งดังกล่าวคือความเป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้น หากปรากฎว่าหมายเลขตัวรถยนต์ในแผ่นป้ายวงกลม และที่ตัวถังไม่ตรงกัน (แผ่นป้ายทะเบียนและตัวรถยนต์เป็นสิ่งที่ถูกต้องทั้งคู่) ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ผิดไปจากมาตรฐาน (มาตรฐานคือข้อความต้องตรงกัน) จึงควรสงสัยในสิ่งนั้น (ความไม่ตรงกันของหมายเลขตัวรถที่ป้ายวงกลมและที่ตัวถังรถ) เมื่อพิจารณาข้อสงสัยดังกล่าวก็จะพบว่าป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีนั้นเป็นป้ายวงกลมที่ทางราชการได้ออกให้กับรถคันอื่น แต่ถูกนำมาติดไว้ที่รถคันดังกล่าวนี้ 3. สรรพสิ่งหลายสิ่งที่เป็นมาตรฐานมาสัมพันธ์กัน ย่อมเกิดสิ่งที่เป็นมาตรฐานได้หลายสิ่งจึงอาจเกิดสิ่งใหม่ที่ผิด ไปจากมาตรฐานได้หลายสิ่ง ดังนั้นจึงมีข้อสงสัยได้หลายอย่างเช่นกัน สิ่งที่น่าสงสัยหลายสิ่งย่อมนำไปสู่การแสวงหาหลักฐานและข้อเท็จจริงได้ 4. ข้อสงสัยหลาย ๆ ข้อสงสัยจะช่วยให้ได้มาซึ่งหลักฐานและข้อเท็จจริงได้หลายทาง ข้อสงสัยหลาย ๆ ข้อสงสัยนั้นเสมือนช่องทางหลายช่องทางที่จะเข้าไปสู่เป้าหมายคือหลักฐานและข้อเท็จจริง ดังนั้นผลการสืบสวนจึงอยู่ที่ความสามารถของผู้สืบสวนที่จะแสวงหาข้อสงสัยได้มากน้อยเพียงใด เมื่อมีคดีเกิดขึ้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นคืออดีตที่ผ่านไปแล้ว แต่ธรรมชาติได้กำหนดวงรอบที่สำคัญไว้ก็คือ การหมุนเวียนเปลี่ยนไปของแต่ละวัน มีกลางวัน กลางคืน มีวงรอบที่แน่นอนจนเป็นกฎเกณฑ์ที่เรียกว่าปรากฎการณ์ธรรมชาติ มนุษย์และสิ่งที่อยู่ในโลกนี้ต้องดำเนินไป ตามกฎเกณฑ์ที่ธรรมชาติกำหนด ดังนั้นในวงรอบ 24 ชั่วโมง จะมีบรรยากาศที่เหมือนเดิมกลับ คืนมากิจวัตรของบุคคลก็ดำเนินรอยตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เช่น ต้องออกจากบ้านไปทำงานเวลา 06.00 น. ทุกวัน เจ้าหน้าที่ต้องมาปฏิบัติงานทุกวันเวลา 08.00 น. ถึงเวลา 16.00 น. ก็เลิกงาน เมื่อมีคดีเกิดขึ้นเวลาหนึ่ง ณ เวลานั้นจะมีบรรยากาศ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมก็จะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในวันรุ่งขึ้น ณ เวลาเดียวกัน ถ้าผู้สืบสวนไปอยู่ในบรรยากาศเช่นเดียวกับบรรยากาศในวันที่เกิดเหตุ ผู้สืบสวนผู้นั้นจะได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น และสามารถขีดวง และขอบเขตของการสืบสวนได้ดีขึ้น เมื่อมีปรากฎการณ์อาชญากรรมเกิดขึ้น อาชญากรรมนั้นไม่ได้เกิดขึ้นท่ามกลางความว่างเปล่า แต่มันเกิดขึ้นก่อความเสียหายให้กับเหยื่อ มีตัวอาชญากร มีปัจจัยที่สำคัญอันนำไปสู่ปรากฎการณ์ของอาชญากรรมในคดีนั้น ๆ ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ เหยื่อที่ได้รับผลร้าย กิจวัตรของเหยื่อ สถานที่เกิดเหตุ ตัวอาชญากร โอกาสในการเข้าถึงเหยื่อ ความยากง่ายในการเข้าถึงตัวเหยื่อ เงื่อนไขสำคัญแห่งคดี ผลตอบแทนของผู้ที่ประกอบอาชญากรรม โดยสามารถแสดงความสัมพันธ์เทคนิคการสร้างแหล่งข่าวในระดับสถานีตำรวจ พื้นฐานการมองของผู้สืบสวนจะต้องอยู่บนกฎเกณฑ์ที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีอิสระเสรีภาพขึ้นพื้นฐาน มีเจตจำนงค์อิสระ มนุษย์ทุกคนมีความแตกต่างรวมทั้งความสามารถที่แตกต่างกัน มนุษย์แสวงหาแต่สิ่งที่ดีสามารถพัฒนาได้ ถ้าผู้ทำการสืบสวนยอมรับหลักการพื้นฐานดังได้กล่าวไว้นี้ผู้สืบสวนจะสามารถสร้างแหล่งข่าวได้ดี เทคนิคการสร้างแหล่งข่าว มีดังนี้ 1. พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเข้มข้น 2. การปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้งต้องได้แหล่งข่าว 3. การหาแหล่งข่าวในห้องควบคุม 4. การหาแหล่งข่าวโดยใช้เด็กเป็นสื่อ 5. การสร้างสถานการณ์ว่าเคยมีการกระทำผิดเกิดขึ้นใกล้ ๆ บริเวณของ พ่อค้า แม่ค้าที่ประกอบอาชีพขายของในตลาด ท่ารถประจำทาง หรือตามทางเท้า 6. การแนะนำทำความรู้จักกับบุคคลในเขตพื้นที่ 7. การจัดอบรมบุคคลในเขตพื้นที่ กลุ่มบุคคลสำคัญ ๆ ที่สามารถให้ความร่วมมือกับตำรวจ ได้แก่ กลุ่มจักรยานยนต์รับจ้าง กลุ่มผู้ขับรถรับจ้าง กลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติ กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน

นักสืบชุมชน



ตะลุยข่าว : ปั้นนักสืบชุมชน...สู้ภัยโจร

นักเรียน นักศึกษา กลุ่มคนขับแท็กซี่ และรถรับจ้างทั่วไป หรือใครที่สนใจอยากเป็นนักสืบชุมชนให้เตรียมตัวไว้ให้ดี จากนี้ไปอีกไม่กี่วัน ตำรวจภูธรภาค 1 (บช.ภ.1) จะจัดอบรมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบอาชญากรรมที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กเยาวชนและสตรี เพื่อรู้และเท่าทันมิจฉาชีพ จะได้ป้องกันตัวเองและคนที่รักให้พ้นจากภัยต่างๆ
window.google_render_ad();
โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากกลุ่มงานสวัสดิภาพเด็กเยาวชนและสตรี ศูนย์สืบสวนสอบสวน บช.ภ.1 เล็งเห็นว่าปัจจุบันสภาพอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็กเยาวชนและสตรีมีมากมายหลายรูปแบบ ส่งผลให้คนเหล่านี้ตกเป็นเหยื่อ ทั้งทางร่างกายและทรัพย์สิน
การทำให้ประชาชนตระหนักถึงภัยและเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ถึงรูปแบบอาชญากรรมและภัยที่แวดล้อมอยู่รอบตัว จะช่วยให้สามารถป้องกันเหตุร้าย ขณะเดียวกันยังสามารถช่วยกันสอดส่องดูแลชุมชนให้ปลอดจากอาชญากรรมได้ด้วย โครงการสมาชิกเครือค่ายชุมชนเข้มแข็งจึงถือกำเนิดขึ้น
หลักสูตรการฝึกอบรมก็ไม่ได้สลับซับซ้อนยากเกินกว่าจะเข้าใจ ใช้เวลาระยะสั้นๆ เพียงแค่วันเดียวเท่านั้น แต่เนื้อหาสาระจะมุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับสถานภาพและปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ บช.ภ.1 หรือจะเรียกว่าเป็นพื้นที่ของพวกเขาก็คงไม่ผิดนักว่ามีรูปแบบอย่างไร คดีไหนมีมาก คนร้ายมุ่งก่อเหตุจุดไหน แผนประทุษกรรมเป็นอย่างไร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้รับการอบรม หากพบเห็นสิ่งผิดปกติยามเมื่อกลับมาใช้ชีวิตจริงก็จะได้เตรียมป้องกันได้ทัน
นอกจากนี้ ยังมีการอบรมเรื่องกฎหมายที่ประชาชนควรทราบ เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและสิทธิหน้าที่ของประชาชน ในฐานะผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
แต่สิ่งที่เป็นไฮไลท์ของงานน่าจะเป็นเรื่องของการฝึกให้สังเกตและจดจำ รวมถึงการติดตามและติดต่อแจ้งข่าวอาชญากรรม ลักษณะไม่ต่างอะไรกับนักสืบชุมชน โดยจะเน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจถึงวิธีจดจำลักษณะบุคคล แยกลักษณะใบหน้าออกเป็นรูป กลม เรียวรูปไข่ หรือเหลี่ยม ลักษณะคิ้วดกหนา บาง รวมถึงจมูก ปาก และตา หรือแม้แต่กระทั่งการจดจำสถานที่และยานพาหนะที่คนร้ายใช้ เพื่อประโยชน์ในการแจ้งข่าวอาชญากรรมเป็นข้อมูลแก่ตำรวจในการติดตามตัว ตลอดจนป้องกันตนเองจากการถูกทำร้ายและล่อลวงทางเพศ
พ.ต.ท.อุเทน นุ้ยพิน สว.กลุ่มงานสวัสดิภาพเด็กเยาวชนและสตรี ศูนย์สืบสวนสอบสวน บช.ภ.1 คาดหวังว่าผู้ที่ได้เข้ารับการอบรมจะมีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม โดยการให้ความร่วมมือกับตำรวจในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ช่วยกันสังเกตการณ์ ให้ข่าวสาร แสดงความคิดเห็น หรือให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมในชุมชน
นอกจากนี้ ยังช่วยขยายงานชุมชนสัมพันธ์ของกลุ่มงานสวัสดิภาพเด็กเยาวชนและสตรี ศูนย์สืบสวนสอบสวน บช.ภ.1 ให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างทั่วถึง และสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยระหว่างตำรวจกับประชาชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมร่วมกัน
“หลักการของโครงการนี้ สมาชิกเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ผู้เข้ารับการอบรม เมื่อพบเห็นพฤติการณ์ต่างๆ ที่สงสัยว่าจะมีผู้กระทำความผิดหรือก่ออาชญากรรมใดๆ รวมทั้งเหตุร้ายอื่นๆ ที่อาจจะเป็นภยันตรายต่อสาธารณชน ไม่ว่าจะเป็นอัคคีภัย วาตภัย อุบัติเหตุจราจร หรืออุบัติภัยอื่นๆ ให้รีบแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจใกล้เคียงโดยเร็ว” พ.ต.ท.อุเทน กล่าว
การอบรมครั้งนี้จะรับสมัครผู้เข้าอบรมรุ่นละ 200 คน รวม 6 รุ่น รวม 1,200 คน หลังการอบรมจะมีใบประกาศนียบัตรและบัตรประจำตัวสมาชิกเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งมอบให้ รวมทั้งสมุดทะเบียนประวัติและเลขประจำตัวสมาชิกตามแบบที่กำหนด เพื่อการติดตามบริหารงาน
รุ่นแรกจะมีการอบรมในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 08.30-17.00 น. ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ตำรวจภูธรภาค 1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ หากใครสนใจสมัครเข้าโครงการ สามารถขอใบสมัครได้ที่กลุ่มงานสวัสดิภาพเด็กเยาวชนและสตรี ศูนย์สืบสวนสอบสวน บช.ภ.1 โทร.0-2537-8096 หมดเขตรับสมัครวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552
โจ๋แสบอยุธยาพาเด็กเสิร์ฟวัย 14 ซิ่งรอบเมืองก่อนรุมข่มขืน-ฆ่า
8 ก.พ. 52 15.38 น.
อ่าน
15152 ครั้ง
เลือกขนากตัวอักษร :
สนับสนุนเนื้อหา พบศพพนักงานเสิร์ฟที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งภายหลังเลิกงานเวลาประมาณเที่ยงคืนเศษ กลุ่มวัยรุ่นขี่จักรยานยนต์มาหลายคันมารับแล้วไม่มีใครพบอีกจนกระทั่งรุ่งเช้า -->
โจ๋แสบลวงเด็ก 14 รุมโทรมแล้วฆ่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น. พ.ต.ท.วัชระ ประพฤติบัติ สว.เวร สภ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับแจ้งเหตุพบศพลอยน้ำอยู่บริเวณคลองส่งน้ำชลประทาน ม.6 ต.บ้านเกาะ อ.พระนครศรีอยุธยา จึงเดินทางไปตรวจสอบ ที่เกิดเหตุบริเวณปากท่อระบายน้ำ พบศพ ด.ญ.ปลา อายุ 14 ปี เสียชีวิตคว่ำหน้าอยู่ในน้ำ ในกระเป๋ากางเกงพบกระเป๋าเงินสีฟ้า มีกระดาษเขียนเบอร์โทรศัพท์หลายเบอร์ ในป่าหญ้าห่างจากที่พบศพประมาณ 20 เมตร พบรองเท้าส้นสูงแบบสวมลายเสือและกำไลลักษณะเดียวกันสีเหลือง นอกจากนี้ ยังพบกระดาษอลูมิเนียมฟอย ที่มักถูกใช้เป็นอุปกรณ์การเสพยาเสพติด จึงเก็บเอาไว้เป็นหลักฐาน โดยรอบที่เกิดเหตุยังพบร่องรอยการต่อสู้ คาดว่าเสียชีวิตมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง
จากการสอบสวนทราบว่า น.ส.ปลาเป็นพนักงานเสิร์ฟที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ภายหลังเลิกงานเวลาประมาณเที่ยงคืนเศษ กลุ่มวัยรุ่นขี่จักรยานยนต์มาหลายคันมารับ น.ส.ปลาไป แล้วก็ไม่มีใครพบอีกเลย จนกระทั่งรุ่งเช้า
เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิษฐานว่า ผู้ตายน่าจะรู้จักกับคนร้าย ซึ่งมีไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบเที่ยวกลางคืนและอยู่กลุ่มรถจักรยานยนต์ซิ่ง ที่มีการเสพยาบ้า ในคืนก่อนเกิดเหตุ ด.ญ.ปลาได้ซ้อนท้ายวัยรุ่นขี่จักรยานยนต์วนเวียนรอบเมือง ต่อมาคาดว่าวัยรุ่นเกิดอารมณ์เปลี่ยว จึงพาตัวน.ส.ปลาไปแล้วผลัดกันข่มขืน แต่เกรงว่าผู้ตายจะแจ้งความ จึงฆ่าทิ้ง
พ.ต.อ.สมบัติ ชูชัยยะ ผกก. กล่าวว่า ได้สั่งการให้ชุดสืบสวนออกหาข่าวในกลุ่มวัยรุ่นและบริเวณร้านสะดวกซื้อ คาดว่ากลุ่มวัยรุ่นและผู้ตายซึ่งรู้จักกัน น่าจะแวะซื้อก่อนที่จะถูกทำร้ายเสียชีวิต เชื่อว่าหาตัวไม่ยาก อยากจะเตือนวัยรุ่นผู้หญิงให้ระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวันวาเลนไทน์นี้ เนื่องจากอาจมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าวันอื่นๆ ซึ่งได้เพิ่มกำลังสายตรวจให้เฝ้าดูวัยรุ่นมากขึ้นแล้ว
พลิกแฟ้มคดีดัง : แหกคุกฆ่า ผบ.เรือนจำ บันทึกโหด 6 นักโทษทมิฬ

โดย คม ชัด ลึก
วัน จันทร์ ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 14:05 น.
ป่าละเมาะริมถนนในหมู่บ้านเขาไม้แก้ว ห่างจากเรือนจำกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ไป 20 กิโลเมตร เป็นจุดที่เจ้าหน้าที่พบศพนายสมพงษ์ อ่วมน้อย ผู้บัญชาการเรือนจำกบินทร์บุรี หลังจากถูกผู้ต้องขัง 6 คน ซึ่งอยู่ระหว่างรอดำเนินคดีอาญาจับเป็นตัวประกันในระหว่างแหกคุกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2541 นายสมพงษ์ถูกผู้ต้องขัง 6 คน แทงเข้าที่ชายโครงขวาทะลุซ้าย หลังจากหนีพ้นรั้วเรือนจำกบินทร์บุรีเพียงไม่กี่นาที ศพผู้บัญชาการเรือนจำถูกพบห่างจากรถบรรทุกที่นักโทษใช้เป็นพาหนะในการหลบหนีประมาณ 100 เมตร โดยรถจอดอยู่ในราวป่า ขณะที่ผู้ก่อเหตุหลบหนีเข้าป่าละเมาะข้างทางไปก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเดินทางไปถึงไม่นาน 6 ทรชน ได้แก่ 1.นายเด่น มีแก้ว ต้องคดีพยายามฆ่า 2.นายไหล แม่นหมาย ต้องคดีข่มขืนฆ่า 3.นายเกลี้ยง สุวรรณวงค์ ต้องคดีลักทรัพย์ 4.นายประจวบ ไพรจันทึก 5.นายสายฝน ละนิโส และ 6.นายอดิเรก ต๊ะวงศ์ ต้องคดีปล้นทรัพย์ ทั้งหมดอยู่ระหว่างรอการดำเนินคดีในชั้นศาล หลังเกิดเหตุตำรวจและเจ้าหน้าที่เรือนจำสนธิกำลังกันกว่า 300 นาย ปิดล้อมป่าละเมาะในพื้นที่หมู่บ้านเขาไม้แก้วเต็มพื้นที่ กระทั่งเวลาล่วงเลยไปจนพลบค่ำจึงสามารถจับกุมนายเกลี้ยงและนายประจวบไว้ได้ ส่วนอีก 4 คน คาดว่าจะหลบหนีข้ามแดนไปกัมพูชา ตำรวจภูธรภาค 2 ประสานกับตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ปูพรมตรวจค้นป่าเขาไม้แก้วควานหาตัวผู้ต้องขังที่เหลือ พบเบาะแสนักโทษกลุ่มนี้ออกจากป่าขอข้าวชาวบ้านกินเป็นระยะ และไหวตัวหลบหนีไปได้ทัน ก่อนตำรวจจะบุกเข้าถึงตัวทุกครั้ง กระทั่งบ่ายวันที่ 6 มีนาคม 3 วันหลังการไล่ล่า นางแสงวรรณ ต๊ะวงศ์ มารดาของนายอดิเรก ได้ประสานให้ตำรวจเดินทางไปรับตัวนายอดิเรกที่บ้านพักแห่งหนึ่งใน ต.วังน้ำเย็น หลังถูกจับกุม นายอดิเรกระบุว่า เพื่อนๆ ที่เหลืออาจจะหลบหนีข้ามพรมแดนไปฝั่งกัมพูชาแล้ว เพราะหลังจากแยกย้ายกัน นายเด่นเปรยว่าจะหนีข้ามแดนไปประเทศเพื่อนบ้าน โดยมั่นใจว่าตำรวจไทยจะไม่สามารถจับกุมได้ หากไปกบดานอยู่ในฝั่งเขมร หลังทราบข้อมูล พ.ต.อ.เสกสรรค์ อุ่นสำราญ รอง ผบก.ภ.จว.สระแก้ว เดินทางข้ามไปฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เข้าพบ พล.ต.ซก เพียบ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกัมพูชา ขอความช่วยเหลือในการไล่ล่าผู้ต้องขังกลุ่มนี้ โดย พล.ต.ซก เพียบ รับปากจะให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งสั่งการให้ทหารและตำรวจทุกหน่วยของกัมพูชาช่วยเหลือตำรวจไทย ในการควานหาตัวผู้ต้องขังแหกคุกกลุ่มนี้ หากจับเป็นไม่ได้ก็ให้จับตายได้ทันที นายอดิเรกบอกชุดสอบสวนด้วยว่า หัวโจกวางแผนแหกคุกกบินทร์บุรีคือนายเด่น มีการเตรียมการก่อเหตุยาวนานถึง 4 เดือน !?! "นายเด่นทราบข่าวจากญาติว่าภรรยากำลังจะมีสามีใหม่ พร้อมกันนั้นยังโกรธแค้นผู้คุมที่ยักยอกเงินที่ญาตินำไปฝากไว้ให้ แถมยังต้องการหนีหนี้พนันไฮโลในเรือนจำด้วย จึงได้หารือกัน โดยดูลาดเลาอยู่นาน กระทั่งสบโอกาส ขณะผู้บัญชาการสมพงษ์เข้าไปตรวจความเรียบร้อยภายในเรือนจำ จับไว้เป็นตัวประกัน โดยใช้เหล็กแหลมจี้ที่ลำคอบังคับให้ผู้คุมเปิดทางหนีให้" นายอดิเรกสารภาพ ผู้ต้องขังรายนี้ บอกด้วยว่า ระหว่างอยู่บนรถบรรทุกที่ปล้นมาจากเรือนจำ นายสมพงษ์ต่อสู้ขัดขืนและพยายามหลบหนี นายเกลี้ยงซึ่งนั่งประกบอยู่เกิดโทสะใช้เหล็กแหลมแทงเข้าที่ร่างนายสมพงษ์จนแน่นิ่ง จากนั้นจึงรื้อค้นเอาทรัพย์สินแล้วโยนร่างไร้วิญญาณของผู้บัญชาการสมพงษ์ลงจากรถตรงจุดที่พบศพในเวลาต่อมานั่นเอง ผ่านไปเกือบครึ่งเดือน 13 มีนาคม ปีเดียวกัน นายกฤษฎา สังข์ศร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ต.คลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว ได้ประสานขอนำตัวนายสายฝนเข้ามอบตัวเพิ่มเติม ตำรวจคุมตัวนายสายฝนมาพบกับนายอดิเรก ทันทีที่ทั้งสองพบหน้ากัน ได้ตรงสวมกอดกันแน่น พร้อมกับฝากไปถึงเพื่อนอีก 2 คน ที่ยังหลบหนีให้เข้ามอบตัว "ผมไม่ได้คิดจะแหกคุก และไม่ได้ร่วมวางแผนกับใคร ทราบเพียงคร่าวๆ ว่านายเด่นนัดหมายให้นักโทษด้วยกันเตรียมตัว กระทั่งวันเกิดเหตุ ระหว่างที่นายเด่นลงมือจี้ผู้บัญชาการสมพงษ์ นายอดิเรกซึ่งเป็นเพื่อนรักกันตะโกนเรียกให้ขึ้นรถบรรทุกหลบหนีไปด้วยกัน จึงรีบกระโดดขึ้นรถบรรทุกไปด้วย" นายสายฝนอ้าง หลังได้ตัวนายสายฝน ตำรวจได้คุมตัวผู้ต้องขังทั้ง 4 คน ไว้ในเรือนจำกบินทร์บุรี และแยกขังเดี่ยวทั้งหมด กระทั่งต่อมาสามารถติดตามจับกุมนายเด่นได้ เหลือเพียงนายไหลที่ยังคงหลบหนีอยู่ ระหว่างการถูกแยกขังเดี่ยว นายเกลี้ยงเสียชีวิตปริศนา พบผูกคอด้วยผ้าขาวม้าติดกับลูกกรงเหล็ก เจ้าหน้าที่เรือนจำอ้างว่านายเกลี้ยงผูกคอตายเอง แต่จากการตรวจสภาพศพ กลับพบว่า ตามลำตัวมีรอยเขียวช้ำหลายแห่ง ลักษณะบาดแผลคล้ายถูกทำร้ายอย่างรุนแรงก่อนจะเสียชีวิต หลังการเสียชีวิตมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มตำรวจและชาวบ้านในพื้นที่ว่า นายเกลี้ยงอาจถูกฆ่าล้างแค้น เพราะจากการสอบสวนทราบว่า นายเกลี้ยงเป็นผู้ลงมือสังหารนายสมพงษ์ "บาดแผลที่พบตามร่างกาย เชื่อว่าเขาน่าจะถูกบุคคลอื่นทำร้ายก่อน แล้วนำร่างไปผูกไว้กับลูกกรงเหล็กอำพรางคดี แต่เราไม่มีพยานหลักฐานอื่นเพียงพอที่จะระบุได้ว่าเขาถูกคนอื่นทำร้ายจนเสียชีวิต" นายตำรวจผู้เกี่ยวข้องกับคดีรายหนึ่งเปิดเผย ขณะที่ พ.ต.ท.รังสรรค์ สุขเอี่ยม สว.สส.สภ.อ.กบินทร์บุรี (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) ระบุว่า จากการชันสูตรพลิกศพโดยแพทย์ รพ.กบินทร์บุรี พบรอยจ้ำๆ ตามร่างกายเต็มไปหมด รวมทั้งรอยเขียวช้ำลักษณะเหมือนถูกทำร้ายก่อนตาย ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหูมากขึ้น นายวัฒนา อัศวเหม รมช.มหาดไทย ซึ่งกำกับดูแลกรมราชทัณฑ์ ได้สั่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด ต่อมานายสวัสดิ์ ส่งสัมพันธ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยืนยันว่า นายเกลี้ยงฆ่าตัวตายเอง จากการตรวจพิสูจน์ศพพบเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก ส่วนแผลที่ขาเกิดจากโซ่ตรวน และไม่เฉพาะนายเกลี้ยงที่ก่อเหตุฆ่าตัวตาย นายประจวบผู้ต้องขังอีกคนก็มีความพยายามฆ่าตัวตายเช่นกัน แต่เจ้าหน้าที่พบเห็นเสียก่อนจึงช่วยเหลือไว้ได้ "เขาถูกขังเดี่ยว ไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับใคร จนเกิดอาการเครียด จึงใช้เสื้อเก่าๆ มาผูกกันยาวประมาณ 2 เมตร ผูกคอตาย ไม่ใช่ใช้ผ้าขาวม้าอย่างที่เป็นข่าว" นายสวัสดิ์ชี้แจงต่อสื่อมวลชน หลังใช้เวลาสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานนาน 3 เดือนเศษ พนักงานได้สรุปสำนวนส่งให้พนักงานอัยการพิจารณาส่งฟ้องศาล ฐานร่วมกันฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กระทั่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2541 ศาลกบินทร์บุรีพิพากษาประหารชีวิตจำเลยทั้งหมด ส่วนนายไหลที่ยังคงเป็นหน้าที่ของตำรวจ ที่ต้องติดตามจับกุมมาดำเนินคดีต่อไป ----------------- ล้อมกรอบ หลังเกิดเหตุนักโทษแหกคุกเรือนจำกบินทร์บุรี กรมราชทัณฑ์ได้เพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมดูแลนักโทษในเรือนจำต่างๆ โดยเฉพาะภายในเรือนจำกบินทร์บุรี มีการเพิ่มความแข็งแรงของประตูทางเข้าออกต่างๆ รวมทั้งห้ามรถยนต์ทุกประเภทเข้าไปภายในเรือนจำอย่างเด็ดขาด น.ส.บุษบา เกษอุดม ผู้บัญชาการเรือนจำกบินทร์บุรี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่เรือนจำทุกคนปฏิบัติหน้าที่กันอย่างเคร่งครัดตามกฎระเบียบที่กรมราชทัณฑ์กำหนด ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา มีการห้ามรถยนต์ทุกประเภทเข้าไปในเรือนจำ เพื่อป้องกันเหตุนักโทษจี้ชิงรถยนต์หลบหนีไปได้อีก นอกจากนี้ยังมีการเสริมความมั่นคงของสถานที่คุมขังอย่างดี พร้อมกับกำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติงานอยู่ใกล้ชิดนักโทษ ระมัดระวังตัวเองเป็นพิเศษ รวมทั้งใช้หลักจิตวิทยาในการควบคุมดูแลให้นักโทษอยู่ในระเบียบ ให้ความรู้ อาหาร การศึกษา และสวัสดิการตามสิทธิที่เขาพึงได้รับอย่างเต็มที่ "ปัจจุบันเรือนจำกบินทร์บุรีมีนักโทษคุมขังอยู่ทั้งสิ้น 330 คน มีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล 31 คน การควบคุมดูแลเป็นไปตามกฎระเบียบที่กรมราชทัณฑ์กำหนด และนักโทษอยู่กันเป็นระเบียบเรียบร้อยดี" น.ส.บุษบา กล่าว

Tag (ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง): กบินทร์บุรี แหกคุก กัมพูชา เรือนจำ
รวมเรื่องฮอต : คลิปเด็ด ภาพเด็ด ซุบซิบดารา กระทู้ฮอต ข่าวเด่น วาไรตี้ เกมส์-ไอที ข่าวกีฬา คลิกที่นี่

บทความพิเศษ

หลักการสืบสวนคดีอาญาพ.ต.อ.ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล ศาสตราจารย์ (สบ 5) ภาควิชาการสืบสวน รร.นรต. การสืบสวนในตัวของมันเองยังไม่มีองค์ความรู้ในระดับทฤษฎี แต่อยู่ในระดับหลักการและเทคนิค การปฏิบัติตามหลักการจะทำให้มีผลการสืบสวนที่ได้ผล เทคนิคการสืบสวนเป็นเรื่องเฉพาะคดี เฉพาะสถานที่ เฉพาะบุคคล เฉพาะสถานการณ์ เทคนิคบางอย่างใช้ได้กับสถานที่แห่งหนึ่ง แต่กับอีกสถานที่หนึ่งเทคนิคดังกล่าวนำมาใช้ไม่ได้ผล ในวิชาการสืบสวนจึงมีการสอนหลักการเทคนิคการสืบสวนแต่การสืบสวนบางอย่างก็ไม่ได้ใช้หลักการแต่เป็น “โชค” โชคดีที่ทำการสืบสวนได้ทั้งที่ไม่ได้ลงทุนลงแรงอะไร เมื่อหลายปีผ่านมาผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่เป็นรองสารวัตร ทำหน้าที่หัวหน้าสายสืบอยู่ที่ สน.วัดพระยาไกร ได้มีสายลับแจ้งว่า นายถวิล ฯ เป็นคนต่างถิ่นมาเช่าบ้านพักอาศัยอยู่ในซอยกิ่งจันทร์ มีอาวุธปืน มีพฤติการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ แต่ผู้เขียนก็ยังไม่มีเวลาไปทำการสืบสวนอย่างจริงจังเพราะยังมีงานอื่นให้ติดตามสืบสวนอีกมากแต่ผู้เขียนก็ได้จดและทราบถึงตำหนิรูปพรรณของนายถวิล ฯ และได้รายละเอียดว่าน่าจะมีอาวุธปืนซุกซ่อนอยู่ในบ้าน สิ่งเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่ผู้เขียนได้รายละเอียดไว้แต่หน้าตาของนายถวิล ฯ เป็นอย่างไร ผู้เขียนไม่เคยเห็น วันหนึ่งผู้เขียนกับพวก 2-3 คนเดินตรวจท้องที่แต่งกายนอกเครื่องแบบ ได้เดินสวนกับชายผู้หนึ่งแต่งกายและมีลักษณะคล้ายนายถวิล ฯ ชายคนดังกล่าวเดินสวนกับผู้เขียนไม่มีอาการรู้จักผู้เขียนแต่อย่างใด เพราะถ้าเป็นผู้ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ในซอยดังกล่าวมักจะรู้จักผู้เขียนเสียเป็นส่วนมาก ผู้เขียนคิดว่าชายคนดังกล่าวน่าจะเป็นนายถวิล ฯ เมื่อผู้เขียนเดินสวนทางไปได้ประมาณ 3-4 ก้าว ผู้เขียนได้ตะโกนว่า “ถวิล” เท่านั้นแหละครับชายคนดังกล่าวหันมาตามเสียงที่เรียก ผู้เขียนจึงเดินกลับมาหาชายคนดังกล่าวออกอาการงง ๆ เล็กน้อยผู้เขียนยิ้มและเดินเข้าหาพร้อมทั้งทักทาย เมื่อถึงตัวชายคนดังกล่าว ผู้เขียนได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจขอตรวจหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน ชายคนดังกล่าวได้นำบัตรออกมาแสดง ชายคนดังกล่าวชื่อนายถวิล ฯ ผู้เขียนจึงเชื่อว่าน่าจะเป็นนายถวิล ฯ คนเดียวกับที่ผู้เขียนทราบประวัติและพฤติการณ์มา ผลการตรวจค้นพบอาวุธปืนพกจำนวน 1 กระบอก จึงได้นำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี สำหรับอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวเป็นอาวุธปืนที่ผลิตจากต่างประเทศตามสภาพน่าจะเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียน แต่ที่ปรากฏอยู่หมายเลขตัวปืน และหมายเลขทะเบียนได้ถูกขูดลบหายไปจึงได้สอบถามนายถวิล ฯ รับว่าได้ลักอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวมาจากผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่ง จึงได้พาผู้เขียนไปชี้ที่เกิดเหตุ ปรากฎว่านายถวิล ฯ ได้เข้าไปลักทรัพย์จากบ้านของผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่ง บ้านหลังดังกล่าวอยู่ในเขตอำเภอวังจันทร์ จ.ระยองโชคเหมือนฝนที่จะตกเมื่อไร เวลาใด เราไม่อาจจะหยั่งทราบ หน้าฝนมักจะมีฝนตกอยู่เสมอ ๆ ถ้าเรามีความพร้อมมีโอ่ง มีกระป๋องคอยรองรับน้ำฝนเราก็จะได้น้ำฝน แต่ถ้าเราไม่มีโอ่งไม่มีกระป๋องเพื่อรองน้ำฝนเมื่อฝนตกเราก็จะไม่ได้น้ำฝน แต่ถ้าเรามีโอ่งมีกระป๋องแต่ขณะที่ฝนตกเรากลับคว่ำโอ่งคว่ำกระป๋องเราก็จะไม่ได้น้ำฝนเช่นเดียวกัน ฝนคือโชคอาจจะเกิดเมื่อใดก็ได้ โอ่งน้ำและกระป๋องน้ำคือหลักการสืบสวนที่เราจะต้องมีอยู่เสมอการเปิดโอ่งหงายกระป๋อง คือเทคนิคที่จะให้ได้น้ำฝน ฝนตกแต่ไม่ได้น้ำฝน เสมือนมีโชคแต่ไม่ได้โชค หลักการสืบสวนจากทรัพย์ไปสู่ตัวคนร้าย มีขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นตอนการพิสูจน์ว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ผิดกฎหมายหรือไม่ ได้แก่ เป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด เป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด 2. ขั้นตอนไปสู่ตัวคนร้าย เมื่อทำการพิสูจน์ได้แล้วว่าทรัพย์เหล่านั้นเป็นทรัพย์ที่ มีไว้ได้มา ได้ใช้ เพื่อใช้ ในการกระทำความผิดย่อมแสดงว่า 2.1 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นคือคนร้าย หรือ 2.2 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นไม่ใช่คนร้าย แต่สามารถบอกเล่าเรื่องราวอันเกี่ยวกับทรัพย์นั้นได้ว่ามีความหมายเป็นมาอย่างไร อันจะนำไป สู่การแสวงหาข้อเท็จจริงต่อไป แนวทางในการที่จะสืบสวนว่าทรัพย์ใดเป็นทรัพย์ที่ผิดกฎหมาย มีแนวทางดังนี้ 1. ตรวจสอบจากการจดทะเบียนของทรัพย์นั้น การจดทะเบียนนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นสองกรณี คือ 1.1 การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ 1.2 การจดทะเบียนทางปกครองเมื่อผู้สืบสวนพบทรัพย์ที่สงสัย และทรัพย์นั้นมีการจดทะเบียนไว้ ผู้สืบสวนก็สามารถที่จะตรวจสอบถึงความถูกต้องของทรัพย์นั้น ผลจากการตรวจสอบจะเป็นข้อมูลให้ผู้สืบสวนตัดสินใจกระทำการไปตามอำนาจและหน้าที่อย่างถูกต้องต่อไป 2. ตรวจสอบจากหมายเลขประจำตัวทรัพย์ บริษัทผู้ผลิตสินค้า และสินค้านั้นมีราคาสูงหรือมีความจำเป็นด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตามผู้ผลิตสินค้าจะสร้างหมายเลขประจำตัวทรัพย์ และมีการเก็บประวัติสินค้านั้นตามหมายเลขประจำตัวทรัพย์ เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ 3. ตรวจสอบจากรหัสลับประจำตัวทรัพย์ ทรัพย์บางประเภทมีความสำคัญต่อการให้บริการหลังการขาย เป็นทรัพย์ที่มีราคาสูง เป็นทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ เป็นทรัพย์ที่ผู้ผลิตต้องการควบคุมและติดตามตรวจสอบ 4. เอกสารประกอบตัวทรัพย์ 5. ตรวจสอบจากความเชื่อมโยงของตัวทรัพย์ โดยใช้สหวิทยาการ 5.1 พิสูจน์โดยอาศัยเหตุผลทางชีวเคมี 5.2 พิสูจน์โดยหลักวิชากลศาสตร์ 6. ตรวจสอบจากตำหนิที่ถูกสร้างบนตัวทรัพย์ ในการสืบสวนคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์มีหลักการสืบสวนที่สำคัญก็คือ 1. การสืบสวนจากคนร้าย ตัวทรัพย์ได้แก่การติดตามพฤติการณ์ของคนร้าย จัดทำประวัติภาพถ่าย จับคนร้ายได้ ก็ทำการขยายผลในคดีอื่น ๆ ต่อไป 2. การสืบสวนจากตัวทรัพย์ คนร้ายได้แก่การพิสูจน์ว่าทรัพย์ที่สงสัยนั้นเป็นทรัพย์ที่ผิดกฎหมายหรือไม่ ถ้าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ผิดกฎหมายก็แสดงว่าคนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นก็คือคนร้ายผู้กระทำผิดหรืออาจจะให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ในการสืบสวนทรัพย์ที่ผิดกฎหมายได้แก่ ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด ทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด และทรัพย์ที่มีไว้เพื่อจะใช้กระทำความผิด ในช่วงระยะปี พ.ศ. 2532 – 2535 ขณะที่ผู้เขียนทำงานอยู่ที่ ศปร. น. นั้น ทีมงานของ ศปร. น. มีผลการจับกุมคดีค้างเก่า และคดีสำคัญได้หลาย ๆ คดี แต่ละคดีก็เป็นการสืบสวนจากทรัพย์ไปสู่ตัวคนร้าย แต่เป็นคดีสำคัญ ๆ ทั้งสิ้น ทั้ง ๆ ที่ทีมงาน ศปร.น. ไม่มีเจตนาที่จะทำการสืบสวนคดีสำคัญ ๆ เหล่านั้นแต่อย่างใด แต่ที่จับกุมคนร้ายได้ก็เพราะตรวจรถและได้รถที่ถูกลักไป ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ไปเป็นการสืบสวนจากทรัพย์โดยอาศัยเอกสารประกอบตัวทรัพย์ ดังนั้นเอกสารประกอบตัวทรัพย์จึงมีความสำคัญ เป้าหมายของการสืบสวนคดีอาญา คือ “การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไป ตามอำนาจหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อทราบรายละเอียดแห่งความผิด” กล้องถ่ายรูปหัวใจของงานสืบสวน วิธีการทำงานที่ได้ผลอย่างหนึ่งของผู้เขียนคือ การนำกล้องถ่ายรูปติดตัวอยู่เสมอ มีประโยชน์ คือ 1. จับผู้กระทำผิดซึ่งหน้า 2. พูดคุยกับประชาชนขณะที่เดินตรวจ เพื่อให้ประชาชนเห็นว่าตำรวจไม่ทอดทิ้งประชาชนออกตรวจอยู่เสมอ 3. และที่สำคัญที่สุดคือ นำกล้องติดตัวไปเมื่อพบวัยรุ่นเดินสวนทางหรือจับกลุ่มคุยกันข้าง ทางผู้เขียนก้จะใช้กล้องถ่ายรูปถ่าย ภาพคนเหล่านั้นไว้ การเดินออกตรวจดังกล่าวทำให้เกิดความทั่วถึงในการตรวจและการตรวจจะกระทำอย่างไม่เป็นเวลา แต่ออกตรวจแทบทุกวันการกระทำดังกล่าวสามารถพบปะประชาชนได้อย่างทั่วถึงและสามารถถ่ายรูปวัยรุ่นได้อย่างทั่วถึงเช่นเดียวกัน เมื่อถ่ายภาพได้แล้วก็นำภาพถ่ายดังกล่าวมาล้างอัดขยายและจัดภาพให้เป็นระบบหมวดหมู่โดยนำภาพถ่ายของวัยรุ่นที่ถูกถ่ายภาพ ที่อยู่ในซอยเดียวกันมารวมไว้ในสมุดภาพเล่มเดียวกันจากนั้นก็ทำการศึกษาบุคคลตามภาพ ภาพถ่ายติดฝาห้องทำงาน การจัดหาภาพถ่าย การบริหารภาพถ่ายของคนร้ายทำให้การทำงานของผู้เขียนบรรลุผล สำเร็จประการสำคัญ ของการจัดการกับภาพถ่ายก็คือ ผู้เขียนได้นำภาพถ่ายของผู้ต้องหาและผู้ที่มีประวัติลักรถติดไว้ที่ฝาของห้องทำงานจำนวนถึง 3 ด้าน รวมทั้งหมดประมาณ 800 กว่าภาพ เมื่อผู้เขียนมาถึงหน่วยงานก็จะทำความรู้จักกับภาพถ่ายดังกล่าว เกิดความคุ้นเคยภาพของคนเหล่านี้ ประทับไว้ที่ส่วนความจำของผู้เขียนติดตามว่าผู้มีประวัติคนใดเสียชีวิตไปแล้ว คนใดมีหมายจับอยู่คนใดกำลังกำลังต้องโทษอยู่ในเรือนจำ คนใดกำลังร่วมแก็งกับใคร และก่อนจะออกจากห้องกลับบ้านเพื่อพักผ่อนก็กวาดสายตามองภาพเหล่านั้นแล้วกล่าวคำอำลาในใจ การกระทำดังกล่าวทำให้ใจเราจดจ่ออยู่กับคนที่เป็นภัยต่อสังคมเพราะในขณะที่ผู้เขียนมีตำแหน่งสารวัตร งานของสารวัตรคืองานสืบสวนติดตามจับกุมผู้กระทำผิด ถ้าสารวัตรท่านใดไม่สนใจงานของตนเองมัวแต่บริการเจ้านาย ตีกอล์ฟ คุมบ่อนการพนัน วิ่งเต้นเอาตำแหน่ง พฤติการณ์ เหล่านี้เขาเรียกว่าเสียชาติเกิด ความเป็นมาตรฐานนั้น สามรถนำมาใช้กับงานด้านการสืบสวนคดีอาญาให้เกิดประสิทธิภาพได้ โดยหลักที่ว่า “สรรพสิ่งย่อมมีความคล้ายคลึงกันในภาวะนั้น ๆ แต่มีบางสิ่งที่แตกต่างจากสรรพสิ่งอื่นในสภาวะนั้น ๆ” จากการสังเกตจะพบว่า การทำงานสืบสวนในปัจจุบันจะมีการทำการสืบสวนจากคนร้ายไปสู่ตัวทรัพย์มากกว่า การสืบสวนจากทรัพย์มาสู่ตัวคนร้าย จึงทำให้งานด้านการสืบสวนไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผู้ทำการสืบสวนจะต้องทำการคาดการณ์เอาจากสถานที่เกิดเหตุและพยานหลักฐานที่ปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุเป็นอย่างไร ขณะเกิดเหตุมีข้อเท็จจริงอย่างไร หากผู้ทำการสืบสวนสามารถค้นพบวงจรของพฤติการณ์ในขณะเกิดเหตุ หากแตกต่างกันน่าจะเกิดจากปัจจัยบางประการมากระทำให้สิ่งนั้นแตกต่างไปจากสรรพสิ่ง ความเป็นมาตรฐานนั้นมีที่มาดังนี้ 1. เกิดจากกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เช่น รถที่บรรทุกของหนัก ดอกยางจะจมลงติดกับพื้นถนนมากกว่า ดอกยางของรถที่บรรทุกของเบากว่า ปรากฎการณ์นั้นเกิดจากธรรมชาติในเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก ถ้าเกิดฝนตกถนนจะต้องเปียก ศพที่ถูกแช่แข็งภายใต้อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งย่อมจะเน่าช้ากว่าศพที่ถูกทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะความเย็นทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ช้า ในการสืบสวนได้มีการนำหลักเกณฑ์ของธรรมชาติมาใช้ในการยุติข้อเท็จจริงบางประการ 2. เกิดจากการกำหนดของมนุษย์ เป็นเรื่องที่มนุษย์ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้ มีทั้งการกำหนดในลักษณะที่เป็นจารีตประเพณี และ กฎหมายที่บังคับ มาตรฐานที่ถูกกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ได้แก่ กฎหมาย ระเบียบของทางราชการ ที่บังคับใช้กับคนทั่วไป เช่น ระเบียบการพิมพ์และใช้เครื่องหมายแสดงการชำระภาษีรถยนต์ประจำปี เราอาจเรียกมาตรฐานเหล่านี้ว่า เป็นมาตรฐานทางนิตินัย 3. เกิดจากความเชื่อและความคิดเห็นของวิญญูชนในเรื่องนั้น ๆ เช่น ถ้าจะถามความคิดเห็นในเรื่องการขับรถบรรทุก ก็จะต้องเป็นความคิดเห็นของวิญญูชนผู้ที่ขับรถบรรทุกควรจะขับอย่างไร ตามวิสัยและพฤติการณ์เช่นนั้น ความคิดเห็นเรื่องการขับรถบรรทุกนั้นจะไปถามคนที่มีอาชีพขับเรือ ที่ไม่เคยขับรถน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น มาตรฐานของความคิดเห็น ของวิญญูชนในเรื่องนั้น ๆ จึงถือได้ว่ามีความเป็นมาตรฐานในระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ของธรรมชาติ หรือเกิดเป็นกฎเกณฑ์ จากข้อบัญญัติที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น ในเรื่องวัตถุ สิ่งของ หรือบุคคล ที่มาสัมพันธ์กันหรือความสัมพันธ์ของวัตถุกับวัตถุ บุคคลกับบุคคล ที่มาสัมพันธ์กันย่อมเกิดสิ่งใหม่หรือสถานการณ์ใหม่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นั้นย่อมจะมีอิทธิพลจากสิ่งเดิม ดังนั้นความสัมพันธ์ ของสรรพสิ่งจะมีลักษณะดังนี้ 1. สรรพสิ่งที่เป็นมาตรฐาน สิ่งที่ผิดไปจากมาตรฐานคือข้อสงสัยให้พิจารณาข้อสงสัยนั้นก็จะได้หลักฐานและข้อเท็จจริง ตัวอย่าง แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ทางราชการได้จัดทำขึ้นมีสี่สีคือ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีม่วง ถ้าหากพบว่ามีรถยนต์คันหนึ่งคันใดติดป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีเป็นสีส้ม แสดงว่าเป็นแผ่นป้ายวงกลมปลอม รถคันดังกล่าว น่าจะเป็นรถที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย 2. สรรพสิ่งที่มีความเป็นมาตรฐานตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปมาสัมพันธ์กัน ย่อมเกิดสิ่งใหม่ที่เป็นมาตรฐานถ้าสิ่งที่เกิดใหม่นั้นผิดไป จากมาตรฐานสิ่งนั้นคือข้อสงสัยให้พิจารณาข้อสงสัยนั้นก็จะได้หลักฐานและข้อเท็จจริง ตัวอย่าง ป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีฉบับหนึ่ง เป็นเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นไม่มีการแก้ไขข้อความ และไม่ใช่เอกสารปลอม ป้ายวงกลมดังกล่าว ติดอยู่กับกระจกรถด้านหน้าของรถยนต์คันหนึ่ง รถคันดังกล่าวมีหมายเลขตัวถัง อยู่ที่ตัวรถ หมายเลขตัวถังไม่ม ีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นหมายเลขตัวถังที่ถูกต้อง กรณีเช่นนี้ความเป็นมาตรฐาน ของแผ่นป้ายวงกลม และเลขตัวรถที่มาสัมพันธ์กันคือในแผ่นป้ายวงกลม ต้องปรากฎอยู่ที่ตัวถังรถยนต์ สิ่งดังกล่าวคือความเป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้น หากปรากฎว่าหมายเลขตัวรถยนต์ในแผ่นป้ายวงกลม และที่ตัวถังไม่ตรงกัน (แผ่นป้ายทะเบียนและตัวรถยนต์เป็นสิ่งที่ถูกต้องทั้งคู่) ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ผิดไปจากมาตรฐาน (มาตรฐานคือข้อความต้องตรงกัน) จึงควรสงสัยในสิ่งนั้น (ความไม่ตรงกันของหมายเลขตัวรถที่ป้ายวงกลมและที่ตัวถังรถ) เมื่อพิจารณาข้อสงสัยดังกล่าวก็จะพบว่าป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีนั้นเป็นป้ายวงกลมที่ทางราชการได้ออกให้กับรถคันอื่น แต่ถูกนำมาติดไว้ที่รถคันดังกล่าวนี้ 3. สรรพสิ่งหลายสิ่งที่เป็นมาตรฐานมาสัมพันธ์กัน ย่อมเกิดสิ่งที่เป็นมาตรฐานได้หลายสิ่งจึงอาจเกิดสิ่งใหม่ที่ผิด ไปจากมาตรฐานได้หลายสิ่ง ดังนั้นจึงมีข้อสงสัยได้หลายอย่างเช่นกัน สิ่งที่น่าสงสัยหลายสิ่งย่อมนำไปสู่การแสวงหาหลักฐานและข้อเท็จจริงได้ 4. ข้อสงสัยหลาย ๆ ข้อสงสัยจะช่วยให้ได้มาซึ่งหลักฐานและข้อเท็จจริงได้หลายทาง ข้อสงสัยหลาย ๆ ข้อสงสัยนั้นเสมือนช่องทางหลายช่องทางที่จะเข้าไปสู่เป้าหมายคือหลักฐานและข้อเท็จจริง ดังนั้นผลการสืบสวนจึงอยู่ที่ความสามารถของผู้สืบสวนที่จะแสวงหาข้อสงสัยได้มากน้อยเพียงใด เมื่อมีคดีเกิดขึ้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นคืออดีตที่ผ่านไปแล้ว แต่ธรรมชาติได้กำหนดวงรอบที่สำคัญไว้ก็คือ การหมุนเวียนเปลี่ยนไปของแต่ละวัน มีกลางวัน กลางคืน มีวงรอบที่แน่นอนจนเป็นกฎเกณฑ์ที่เรียกว่าปรากฎการณ์ธรรมชาติ มนุษย์และสิ่งที่อยู่ในโลกนี้ต้องดำเนินไป ตามกฎเกณฑ์ที่ธรรมชาติกำหนด ดังนั้นในวงรอบ 24 ชั่วโมง จะมีบรรยากาศที่เหมือนเดิมกลับ คืนมากิจวัตรของบุคคลก็ดำเนินรอยตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เช่น ต้องออกจากบ้านไปทำงานเวลา 06.00 น. ทุกวัน เจ้าหน้าที่ต้องมาปฏิบัติงานทุกวันเวลา 08.00 น. ถึงเวลา 16.00 น. ก็เลิกงาน เมื่อมีคดีเกิดขึ้นเวลาหนึ่ง ณ เวลานั้นจะมีบรรยากาศ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมก็จะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในวันรุ่งขึ้น ณ เวลาเดียวกัน ถ้าผู้สืบสวนไปอยู่ในบรรยากาศเช่นเดียวกับบรรยากาศในวันที่เกิดเหตุ ผู้สืบสวนผู้นั้นจะได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น และสามารถขีดวง และขอบเขตของการสืบสวนได้ดีขึ้น เมื่อมีปรากฎการณ์อาชญากรรมเกิดขึ้น อาชญากรรมนั้นไม่ได้เกิดขึ้นท่ามกลางความว่างเปล่า แต่มันเกิดขึ้นก่อความเสียหายให้กับเหยื่อ มีตัวอาชญากร มีปัจจัยที่สำคัญอันนำไปสู่ปรากฎการณ์ของอาชญากรรมในคดีนั้น ๆ ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ เหยื่อที่ได้รับผลร้าย กิจวัตรของเหยื่อ สถานที่เกิดเหตุ ตัวอาชญากร โอกาสในการเข้าถึงเหยื่อ ความยากง่ายในการเข้าถึงตัวเหยื่อ เงื่อนไขสำคัญแห่งคดี ผลตอบแทนของผู้ที่ประกอบอาชญากรรม โดยสามารถแสดงความสัมพันธ์เทคนิคการสร้างแหล่งข่าวในระดับสถานีตำรวจ พื้นฐานการมองของผู้สืบสวนจะต้องอยู่บนกฎเกณฑ์ที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีอิสระเสรีภาพขึ้นพื้นฐาน มีเจตจำนงค์อิสระ มนุษย์ทุกคนมีความแตกต่างรวมทั้งความสามารถที่แตกต่างกัน มนุษย์แสวงหาแต่สิ่งที่ดีสามารถพัฒนาได้ ถ้าผู้ทำการสืบสวนยอมรับหลักการพื้นฐานดังได้กล่าวไว้นี้ผู้สืบสวนจะสามารถสร้างแหล่งข่าวได้ดี เทคนิคการสร้างแหล่งข่าว มีดังนี้ 1. พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเข้มข้น 2. การปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้งต้องได้แหล่งข่าว 3. การหาแหล่งข่าวในห้องควบคุม 4. การหาแหล่งข่าวโดยใช้เด็กเป็นสื่อ 5. การสร้างสถานการณ์ว่าเคยมีการกระทำผิดเกิดขึ้นใกล้ ๆ บริเวณของ พ่อค้า แม่ค้าที่ประกอบอาชีพขายของในตลาด ท่ารถประจำทาง หรือตามทางเท้า 6. การแนะนำทำความรู้จักกับบุคคลในเขตพื้นที่ 7. การจัดอบรมบุคคลในเขตพื้นที่ กลุ่มบุคคลสำคัญ ๆ ที่สามารถให้ความร่วมมือกับตำรวจ ได้แก่ กลุ่มจักรยานยนต์รับจ้าง กลุ่มผู้ขับรถรับจ้าง กลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติ กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน